น้ำคร่ำคืออะไร มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไรบ้าง?
หากพูดถึงการตั้งครรภ์ หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับน้ำคร่ำ แต่คงมีไม่กี่คนที่รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำคร่ำมาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนท้องต้องรู้เอาไว้ เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัวรับมือต่ออาการคนท้องต่าง ๆ ในช่วงของการตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เราลองมาดูกันดีกว่าว่าน้ำคร่ำคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
น้ำคร่ำ คืออะไร
ในช่วงการตั้งครรภ์จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนหลายอย่าง จึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายเกิดอาการคนท้องหลากหลายอาการด้วยกัน แต่การเกิดขึ้นของน้ำคร่ำจะเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยมีลักษณะเป็นเยื้อบางใสๆ 2 ชั้น ในระหว่างการเติบโตของทารกถุงน้ำคร่ำจะขยายมากขึ้นและมีน้ำอยู่ภายใน น้ำคร่ำ โดยเกิดจากน้ำเหลืองและเลือดของแม่ ที่ซึมผ่านรกต่อจากของเหลวที่ซึมผ่านจากผิวของทารกในท้อง
ปริมาณน้ำคร่ำ
- อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำ 50 มิลลิลิตร
- อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำ 150 – 200 มิลลิลิตร
- อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำ 400 มิลลิลิตร
- อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ 1,000 มิลลิลิตร
เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตน้ำคร่ำให้ดี ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกมีอาการผิดปกติได้
- น้ำคร่ำมีปริมาณน้อยเกินไป จะทำให้เกิดอาการคนท้องแบบผิดปกติคือ เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง จนส่งผลทำให้ทารกขยับแขนขาไม่สะดวก จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยหยุดลง นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับอาการโครโมโซมผิดปกติ ไม่มีไต ท่อปัสสาวะอุดตัน
- น้ำคร่ำปริมาณมาก จะทำให้ท้องใหญ่ผิดปกติ ทำให้คลอดก่อนกำหนด อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานแทรกซ้อน ทารกอาจพบกับภาวะไม่มีกะโหลกไขสันหลังไม่ปิด ข้อดีคือทำให้ทารกเคลื่อนไหวแขนขาได้อย่างสะดวก ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ฝึกกลืนตั้งแต่อยู่ในท้อง เพราะการกลืนน้ำคร่ำเป็นการเริ่มต้นทำงานของปอด
หน้าที่ของน้ำคร่ำ
1.น้ำคร่ำทำหน้าที่ปกป้องทารกที่อยู่ในครรภ์
2.ช่วยปกป้องการกระทบกระเทือนจากภายนอก เพราะน้ำคร่ำนั้นมีส่วนผสมของน้ำ 98% อีก 2 % เป็นสารประกอบต่าง ๆ
3.ช่วยรักษาอุณหภูมิให้ทารกในครรภ์รู้สึกอบอุ่น
น้ำคร่ำช่วงก่อนคลอด
เมื่อทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุครบ 20 สัปดาห์ น้ำคร่ำจะซึมผ่านไปมายังผิวหนังไม่ได้อีกแล้ว จะมาจากทางปัสสาวะของทารก และทารกก็จะกลืนเอาน้ำคร่ำเข้าไปใหม่อยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ การตรวจน้ำคร่ำสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพความแข็งแรงของลูกน้อย รวมถึงความผิดปกติต่าง ๆ แต่การตรวจน้ำคร่ำ ถ้าต้องเจาะน้ำคร่ำควรเจาะในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16 – 18 สัปดาห์
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของน้ำคร่ำนั้นมีดีต่อทารกและคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะช่วยปกป้องทารกในครรภ์ ช่วยรักษาอุณหภูมิให้ทารกอบอุ่น ในช่วงการตั้งครรภ์หากมีน้ำใส ๆ ไหลออกมา ที่เรียกว่า “น้ำเดิน” ก็ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะเป็นอาการคนท้องที่บ่งบอกว่าใกล้คลอดแล้วนั่นเอง