ผู้ป่วยโรคไต ควรกินอาหารแบบไหนดี? พร้อมวิธีป้องกันโรคไตอย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคไต ควรกินอาหารแบบไหนดี? พร้อมวิธีป้องกันโรคไตอย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคไต ควรกินอาหารแบบไหนดี? พร้อมวิธีป้องกันโรคไตอย่างถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ป่วยโรคไต ควรดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดี และเรื่องที่ควรใส่ใจหลักๆ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการรับประทานอาหาร เรามาดูกันนะคะว่าผู้ป่วยโรคไตควรทานอาหารแบบไหน และจะมีวิธีใดที่ช่วยป้องกันโรคไตได้บ้าง ไปติดตามกันเลย

ผู้ป่วยโรคไต ควรทานแบบไหนดี?

1.ผู้ป่วยโรคไตที่ร่างกายมีการรั่วของไข่ขาวออกมาจากทางปัสสาวะปริมาณมาก นั่นหมายถึงร่างกายมีระดับไข่ขาวในเลือดต่ำ จำเป็นต้องกินอาหารที่ให้โปรตีนอย่างเพียงพอเพื่อชดเชยการสูญเสียไข่ขาวออกไปทางปัสสาวะ

2.หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายแบบเรื้อรังระยะหลัง ร่างกายจะมีสารพิษคั่งค้างปริมาณมาก แบบนี้ยิ่งไม่ควรกินอาหารที่มีโปรตีนมากจนเกินไป เพราะจะยิ่งส่งผลทำให้มีของเสียคั่งค้างมากยิ่งขึ้น แนะนำให้กินปลาที่ย่อยง่ายและให้คุณค่าทางอาหารสูง แต่หากยังอยากกินเนื้อหมู เนื้อไก่ก็ยังคงกินได้ แต่ควรลดปริมาณให้น้อยลง

3.ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและมีปัสสาวะน้อย ควรจำกัดการกินอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และผลไม้ โดยยังคงสามารถกินแป้งและน้ำตาลได้ ยกเว้นผู้ป่วยโรคไตที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ควรลดปริมาณน้ำตาลให้น้อยลง

4.สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายพิการระยะแรก โดยที่ยังไม่มีความดันโลหิตสูงและร่างกายยังไม่มีอาการตัวบวม ถือว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องลดปริมาณการดื่มน้ำหรือจำกัดการทานเกลือโซเดียม เพราะยังถือเป็นระยะที่ปริมาณของปัสสาวะเท่ากับคนปกติ

5.ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายพิการ ในระยะหลังๆ เรียกได้ว่าไตมีความเสื่อมมากขึ้นจนไม่สามารถขับน้ำและเกลือโซเดียมได้ดีเท่าคนปกติอีกแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องจำกัดการดื่มน้ำและเกลือโซเดียม เพราะผู้ป่วยจะมีการขับถ่ายปัสสาวะออกมาน้อย มีภาวะบวมและมีความดันโลหิตสูง

วิธีป้องกันโรคไต ทำได้อย่างไร?

1.ลดการกินอาหารรสเค็ม เพื่อเป็นการควบคุมความดันโลหิต โดยเน้นกินผักและผลไม้ที่มีประโยชน์แทน นอกจากนี้ ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยจะดีมาก

2.ไม่ควรปล่อยตัวให้อ้วน ควรรักษาและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

3.ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะหากความดันโลหิตมีระดับสูงๆ ต่ำๆ หรือไม่คงที่ก็จะมีผลทำให้ไตเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น

4.สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไตถูกทำลาย และยังเป็นการป้องกันหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจและตาได้รับความเสียหายอีกด้วย

5.นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป โดยควรพักให้สนิทวันละ 7-8 ชั่วโมง

6.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เพราะจากผลวิจัยได้ระบุว่าไตของผู้ที่สูบบุหรี่นั้นจะมีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่

7.หลีกเลี่ยงการทานยาที่เป็นพิษกับไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดหลัง ทั้งชนิดที่ทานและฉีด และหากใช้ในปริมาณสูงหรือใช้นานเกินไปก็ย่อมก่อให้เกิดพิษกับไตได้ นอกจากนี้ ควรระมัดระวังการกินยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานด้วย

ทราบกันไปแล้วนะคะว่า การกินอาหารในผู้ป่วยโรคไตควรกินอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมสภาพมากยิ่งขึ้น และวิธีป้องกันโรคไตควรทำอย่างไรบ้าง ใครที่กลัวเป็นโรคไตหรือป่วยเป็นโรคไตแล้วต้องใส่ใจปฏิบัติตามนี้กันนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook