แลหลังวันสตรีสากล : ความเท่าเทียมที่เคลือบแคลง แต่ความรุนแรงยังพุ่ง!

แลหลังวันสตรีสากล : ความเท่าเทียมที่เคลือบแคลง แต่ความรุนแรงยังพุ่ง!

แลหลังวันสตรีสากล : ความเท่าเทียมที่เคลือบแคลง แต่ความรุนแรงยังพุ่ง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ในการแถลงข่าวการจัดงานวันสตรีสากลประจำปี 2553 และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"นโยบายรัฐบาล :สิทธิแรงงานหญิง" ตอนหนึ่งว่าปัจจุบันแรงงานหญิงมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด จำนวนกว่า 38 ล้านคน ซึ่งกระทรวงแรงงานมีนโยบายให้ความคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็กให้ได้รับการ ปฏิบัติอย่างถูกต้องรวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนทัศนคตินายจ้างไม่ให้เลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และมุมนมแม่ในสถานประกอบการ

ด้าน นางธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า แรงงานหญิงได้ยื่นข้อเรียกร้อง 5 ข้อให้กระทรวงแรงงาน ดำเนินการช่วยเหลือเนื่องในวันสตรีสากล ปี 2553 ได้แก่ 1.ให้รัฐจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานอุตสาหกรรมในปริมาณที่เพียงพอ และมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน 2.ขอให้รัฐจัดสัดส่วนระหว่างหญิงและชายในคณะกรรมการไตรภาคีอย่างเท่าเทียม กัน 3.จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงรองรับปัญหาการเลิกจ้างงาน โดยเก็บเงินนายจ้างตั้งเป็นกองทุน ช่วยเหลือแรงงานที่ไม่ได้รับเงินชดเชย และช่วยเหลือด้านการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของบุตรแรงงานที่ประสบ ปัญหา 4.รัฐต้องรับรองอนุสัญญา 87 และ 98 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และ 5. ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

รอง ผบช.น. เผย คดีเกี่ยวกับผู้หญิง ถูกทำร้ายทุกรูปแบบ เพิ่มสูงขึ้นจนน่าห่วง

พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ รอง ผบช.น. และน.ส.ธนวดี ท่าจีน ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง พร้อมด้วยสมาชิกกว่า 80 คน และพนักงานสอบสวนหญิง จากสถานีตำรวจนครบาลต่างๆ จำนวน 128 นาย เข้าร่วมประชุม เนื่องจาก วันนี้เป็นวันสตรีสากล โดย น.ส.ธนวดี เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อให้เพิ่มความเข้มงวด ด้านสถานบันเทิง และร้านจำหน่ายสุรา ให้กับเยาวชนหญิง และให้เพิ่มมาตรการในการรักษาความปลอดภัย ให้กับผู้หญิง รวมทั้ง คดีความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งทำร้ายเด็กและสตรี ขณะที่ พล.ต.ต.วิมล กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว เป็นการแลกข้อมูลกัน ซึ่งคดีความรุนแรงแก่เด็กและสตรีนั้น พบว่า มีสถิติคดีเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา มีการแจ้ง 6,939 ราย จับกุมได้ 3,777 ราย คดีค้าประเวณีมีการแจ้งไว้ 54,011 ราย จับกุมได้ 54,128 ราย และคดีเผยแพร่วัตถุลามกอนาจาร มีการแจ้งไว้ 1,087 ราย จับกุมได้ 1,044 ราย

สตรีทั่วโลกขออะไร เนื่องในวันสตรีสากล

แม้จะผ่านมา 1 ศตวรรษแล้ว แต่ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ผู้หญิงต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงต่อสตรี หรือค่าแรงที่ไม่เท่าเทียมซึ่งเป็นประเด็นหลักที่มีการเดินขบวนรณรงค์ในหลายประเทศทั่วโลก

วันนี้ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีทั้งในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และแอฟริกาใต้ ต่างรวมเดินขบวนเนื่องในวันสตรีสากล ซึ่งปีนี้เป็นวันครบรอบ 100 ปี เช่นเดียวกับชาวฟิลิปปินส์กว่า 5,000 คนจากหลากหลายสาขาอาชีพ ที่ร่วมเดินขบวนท่ามกลางอากาศร้อนจัด เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาสตรี ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง ค่าแรงต่ำ รวมทั้งโปรแกรมด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์กับผู้หญิง

การเดินขบวนเรียกร้องสิทธิสตรีในปีนี้ มีขึ้นในช่วงการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งผู้ที่ร่วมเดินขบวนต่างเรียกร้องให้ผู้สมัครให้ความสำคัญกับปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงอย่างจริงจัง เนื่องจากไม่มีใครกล้าแสดงตัวว่าจะช่วยผลักดันร่างกฏหมายเกี่ยวกับสุขภาพที่ให้ประโยชน์กับผู้หญิง เช่นให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การคุมกำเนิด หรือกฏหมายต่อต้านการค้าบริการทางเพศส่วนกลุ่มสตรีที่มาจากพื้นที่ที่มี กลุ่มติดอาวุธ เรียกร้องให้มีการจ้างงานอย่างเท่าเทียม

ผู้ประท้วงระบุว่า แม้ฟิลิปปินส์จะมีประธานาธิบดีหญิง แต่สภาพความเป็นอยู่ของผู้หญิงกลับไม่ดีขึ้น มีการกดขี่ และมีแนวโน้มความรุนแรงต่อผู้หญิงเพิ่มขึ้น

ส่วนที่ประเทศกัมพูชา องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือเอ็มนาสตี้ เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสิทธิสตรีในกัมพูชาพบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มถูกข่มขืนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเด็ก เหยื่อข่มขืนไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ มีความไม่เชื่อถือว่าเหยื่อถูกข่มขืนจริง ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสมและไม่ได้รับความยุติธรรม*

นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์พิเศษในเว็บไซต์ของ UN เนื่องในวันสตรีสากล ว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับสตรีเกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งเรื่องสุขอนามัย สวัสดิภาพ และสิทธิความเท่าเทียม ทั้งนี้ UN ดำเนินการช่วยเหลือสตรีทั่วโลกมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ถึงกระนั้น เลขาธิการ UN ได้กล่าวขอร้องให้นานาชาติปฏิบัติต่อสตรีอย่างเท่าเทียม

*ข้อมูลจาก thaipbs.or.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook