5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย

5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย

5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กตัวเล็กๆ มักจะมีการตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ได้ไวกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น การให้ยาแก่กับลูกน้อยจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับตามใบสั่งยาของแพทย์ ยาสามัญทั่วไปที่ซื้อได้จากร้านขายยา หรือแม้กระทั่งยาสมุนไพรที่คุณอาจจะคิดว่าปลอดภัยก็ล้วนถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็ก วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ เป็นความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาที่เหมาะสมและยาต้องห้ามสำหรับลูกน้อยในวัย 1-2 ปีมาฝากกันค่ะ 

5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย
5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย

1. ยาสำหรับเด็กเล็กและยาสำหรับผู้ใหญ่
การให้ยาสำหรับผู้ใหญ่กับเด็กเล็กในวัย 1-2 ปี แม้จะใช้ในปริมาณที่น้อยลงแต่ก็ยังมีอันตรายอยู่ดี เพราะอาจทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับยาเกินขนาดได้ ดังนั้น หากฉลากยาไม่ได้ระบุอายุ น้ำหนักและปริมาณสำหรับวัยของลูกคุณไว้อย่างชัดเจนแล้วละก็ คุณก็ไม่ควรกะปริมาณยาให้ลูกรับประทานด้วยตัวคุณเองเด็ดขาดนะคะ

2. แอสไพริน
คุณไม่ควรให้ยาแอสไพริน หรือยาใดๆ ก็ตามที่มีส่วนผสมของแอสไพรินแก่หนูน้อยในวัย 1-2 ปี เพราะตัวยาแอสไพรินนั้น อาจทำให้ลูกของคุณได้รับภาวะที่เรียกว่า Reye’s syndrome ซึ่งมีความร้ายแรงถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากกำกับยาทุกครั้งก่อนป้อนให้ลูก 

5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย
5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย

3. ยาของคนอื่น
หมายถึงยาที่คุณหมอสั่งให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ภายในบ้าน แม้จะอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน หรือป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะนำยาที่ได้รับจากคุณหมอมาป้อนให้กับลูกของคุณได้อย่างปลอดภัยนัก ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกรับประทานยาที่ระบุชื่อของบุคคลอื่นเด็ดขาดค่ะ

4. ยาแก้เมารถ
ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้เมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบินก็ควรหลีกเลี่ยงค่ะ นอกเสียจากว่าเป็นยาที่แพทย์สั่งมาให้เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วอาการเหล่านี้เป็นอาการระยะสั้นๆ แม้จะทำให้ลูกของคุณอาเจียนออกมาได้ แต่ร่างกายของลูกก็สามารถรับมือกับอาการดังกล่าวได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพายาใดๆ

5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย
5 ตัวยาต้องห้าม สำหรับลูกน้อย

5. ยาที่มีส่วนผสมของอะเซตามีโนเฟน
อะเซตามีโนเฟน หรือที่รู้จักกันในชื่อพาราเซตามอนนั่นเองค่ะ ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบในยาสำหรับเด็กหลายๆ ชนิด ดังนั้นก่อนจะให้ลูกกินยาควรมั่นใจว่า ยาแต่ละอย่างไม่ได้มีส่วนผสมของตัวยาที่ซ้ำกัน ไม่เช่นนั้นลูกน้อยอาจได้รับปริมาณ อะเซตามีโนเฟน มากเกินไปจนเป็นอันตรายได้ค่ะ

สิ่งสำคัญในใช้ยาอีกประการหนึ่งก็คือ ควรระวังในเรื่องของยาหมดอายุ ยาที่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เช่น รูปทรงที่เปลี่ยนไป สีที่เปลี่ยนไป หรือซองที่ห่อหุ้มยานั้นขาดชำรุด ควรนำไปทำลายทิ้งมากกว่าจะนำมาป้อนให้แก่ลูกน้อยหรือคนในครอบครัวค่ะ ซึ่งการทิ้งยาที่ถูกวิธีก็คือ ควรดูที่ฉลากยาค่ะว่าระบุวิธีทำลายทิ้งไว้หรือไม่ เนื่องจากยาบางชนิดสามารถทิ้งลงชักโครกได้ทันที แต่ในกรณีที่เป็นยาน้ำ ควรเทใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิดแล้วขีดลบชื่อและทำลายข้อมูลส่วนตัวก่อนทิ้งลงถังขยะด้วยค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook