การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นอกจากการใส่ใจเรื่องทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสุขภาพให้ทารกในครรภ์แข็งแรงดีแล้ว คุณแม่ยังต้องหมั่นเข้าตรวจกับแพทย์ทุกครั้งตามนัดด้วยนะคะ เพื่อจะได้รับมือป้องกันหากว่าทารกในครรภ์มีปัญหา เพราะหากทารกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อยเราจะได้สามารถป้องกันกันตั้งแต่สมัยตั้งครรภ์ได้เนิ่นๆ แต่หากวันนี้คุณแม่ท่านใดที่คลอดบุตรแล้วพบว่าลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ถ้าเช่นนั้น เราก็ควรศึกษารายละเอียดในการดูแลทารกกันอย่างเข้าใจมากขึ้นดังนี้ค่ะ

mom74
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

ปรับอุณหภูมิให้เด็กแรกหลังคลอด
สำหรับทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ไขมันใต้ผิวหนังก็จะมีน้อยตามและส่งผลให้ตัวเด็กไม่สามารถปรับอุณหภูมิไว้ได้ทัน จึงต้องเข้าอยู่ในตู้อบเพื่อปรับให้อุณหภูมิในร่างกายคงที่ แต่หากตัวทารกไม่เล็กมากนักก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตู้อบก็ได้ค่ะ แต่ควรใส่ใจเรื่องเสื้อผ้าของเด็กแทน โดยควรสวมหมวก ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ห่อตัวเด็กไว้เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นอยู่ตลอด อีกทั้งควรได้รับการตรวจเช็คอุณหภูมิอยู่เป็นระยะด้วย นอกจากนี้ ทารกกลุ่มนี้ยังมีปัญหาในด้านภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอีกด้วย เพราะระหว่างอยู่ในครรภ์อาจได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายต้องผลิตเม็ดเลือดแดงมากขึ้นส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดสูง เมื่อเลือดมีความเข้มข้นอย่างเพียงพอร่างกายจะได้นำพาออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอพร้อมกันด้วย

mom71
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

การดูแลทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- ดูแลเรื่องการหายใจ
โดยต้องได้รับการติดตามอยู่เสมอ บางรายอาจจะต้องให้ออกซิเจนเสริมไปพร้อมกับการดูแลเรื่องอุณหภูมิของทารกไปด้วย อีกทั้งควรตรวจเลือดเพื่อเช็กความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อแพทย์ตรวจอย่างละเอียดดีแล้วและพบว่าร่างกายส่วนอื่นๆ ปกติดีหมด เป็นแค่น้ำหนักตัวที่น้อยกว่าก็ถือว่าเป็นความปกติแต่เพียงเท่านั้น ก็จะมาใส่ใจดูแลเรื่องอื่นๆ กันต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของการกินของเด็กค่ะ

mom72
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

- ดูแลเรื่องการกินของทารก
โดยส่วนมากเด็กทารกที่น้ำหนักตัวน้อยมักจะไม่ค่อยกินอาหาร ดังนั้น จึงต้องฝึกให้นมเขาจนเก่งก่อน เมื่อเขากินนมได้เก่งมากขึ้นเพียงพอกับความต้องการของร่างกายที่ควรได้รับ แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ค่ะ

mom73
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยอย่างถูกต้อง

- การดูแลเมื่อทารกกลับบ้านแล้ว
คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจให้ความอบอุ่นแก่ลูกน้อยเป็นอย่างดี สำหรับเสื้อผ้าก็ควรหาเสื้อผ้าตัวหนาๆ มาห่มให้เขาตลอดเวลา ในส่วนของการเจริญเติบโตเด็กๆ กลุ่มนี้จะสามารถเติบโตทันเพื่อนๆ ในรุ่นเดียวกันเมื่ออายุประมาณ 6-9 เดือน

เพื่อรับมือป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวทารกแรกคลอดน้อยจนเกินไป จากนี้คุณแม่ควรเริ่มใส่ใจเรื่องของการทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอนะคะ อีกทั้งควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อที่คุณหมอจะได้ตรวจเช็คสุขภาพทารกในครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ เพราะหากพบความผิดปกติก็จะได้หาสาเหตุและวางแผนการดูแลสุขภาพครรภ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook