โรคที่มากับสายฝน

โรคที่มากับสายฝน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อถึงหน้าฝน เชื่อว่ามีใครหลายๆ คนไม่ชอบ เพราะสายฝนมาพร้อมกับความเปียกชื้น ชุ่มฉ่ำ ถนนหนทางเจิ่งนองไปด้วยน้ำฝนเฉาะแฉะไปด้วยน้ำฝน ที่ไม่เพียงจะนำความชุ่มชื้นมาฝากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ฝนยังนำมาซึ่งโรคภัยต่างๆ ถึง 5 กลุ่มด้วยกัน รวมโรคอีกกว่า 10 ชนิด ซึ่งเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ และโรคที่ควรป้องกันมากที่สุดคือโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมีโรค 5 กลุ่ม ได้แก่

โรคที่มากับสายฝน
โรคที่มากับสายฝน

1. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง อันได้แก่ ไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค และโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่าเป็นพาหะนำโรค ซึ่งทั้ง 3 โรคนี้จะมีอาการเริ่มจากการมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ อาจทำให้พิการในภายหลังได้

2. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือกินอาหารสุกๆ ดิบๆ

3. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่จะพบบ่อยมากที่สุดได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ คออักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการจะเริ่มจากมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ หายใจเร็วหรือเหนื่อยหอบ

4. กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือที่รู้จักกันว่าโรคไข้ฉี่หนู อาการเด่นๆก็คือ จะมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ซึ่งมักจะปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และมีอากรตาแดงร่วมด้วย

5. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กอยู่ในบ้าน ช่วงนี้ถ้าหากลูกมีไข้สูง ควรไปพบแพทย์ทันที มีข้อควรระวังที่สำคัญคือ ห้ามใช้ยาจำพวกแอสไพรินเด็ดขาด เพราะยาชนิดนี้มีอันตรายกับบางโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ฉี่หนู เพราะโรคทั้ง 3 ชนิดนี้ จะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นทำให้เสียชีวิตจากโรคได้ง่ายขึ้น

ในช่วงหน้าฝนนี้เราสามารถป้องกันโรคต่างๆ เหล่านี้ได้โดยดูแลสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่สุกสะอาด และควรที่จะล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ดูแลไม่ให้พื้นที่หรือภาชนะในบ้านมีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ดูแลตัวเองและลูกน้อยไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่ควรออกไปเดินลุยในพื้นที่น้ำขัง และล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอหลังออกไปเดินในพื้นชื้นแฉะหลังฝนตกใหม่ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook