อาการเสพติดรสหวาน

อาการเสพติดรสหวาน

อาการเสพติดรสหวาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

หลายคนอาจมองว่าการรับประทานขนมหวานทำให้รู้สึกมีความสุขได้ แต่นั่นอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังตกเป็นทาสของความหวาน จนกลายเป็นสิ่งเสพติดไปแล้วก็ได้

ดร.พิเอสโทร คอนโทรเน และ ดร.วาเลนตินา ซาบิโน สองนักวิจัยจากอิตาลี จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และ ดร.ลูกา สเตียโด แห่งมหาวิทยาลัยโรม ในอิตาลี จึงสนใจอยากจะรู้ว่า คนเราจะเลือกเสพติดรสหวานได้จริงหรือไม่ จึงได้ทำการทดลองโดยให้หนูกินช็อคโกแลตติดต่อกัน 7 สัปดาห์ และให้หยุดกิน พบว่าเพียง 2 สัปดาห์ พวกมันก็มีอาการงุ่นง่าน แม้จะให้อาหารปกติ พวกมันก็ไม่ยอมกิน แต่เมื่อให้ช็อคโกแลตก็รีบเข้ามากินทันที และพบว่าหนูกินอาหารที่มีรสหวานมากขึ้น และกินอาหารปกติน้อยลง ซึ่งเป็นผลเสียของอาการเสพติด

หนู ซึ่งอยู่ในช่วงงดให้ช็อคโกแลตยังพบว่า มีระดับฮอร์โมน CRF1 ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง ซึ่งควบคุมการตอบสนองความเครียดของพวกมันสูงกว่าหนูที่กินอาหารปกติถึงร้อยละ 70 แต่ระดับ CRF1 จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อให้พวกมันกินช็อโกแลต ศาสตราจารย์สเตียโด บอกว่า หนูที่กินอาหารอร่อยถูกปากเมื่อถูกควบคุมให้กินอาหารที่มีแคลลอรี่ต่ำ ไม่มีรสมีชาติพวกมันก็จะไม่สนใจอาหาร กินได้น้อยลง เริ่มมีอาการเครียดเหมือนคนที่ติดยาเสพติด

นักวิทยาศาตร์ได้ทดลองให้สารต้านฮอร์โมน CRF ไปสกัดการเชื่อมโยงความเครียดในสมองไม่ให้หนูแสดงความเครียดออกมาระหว่างที่งดช็อคโกแลต ส่งผลให้หนูกินอาหารปกติได้มากขึ้นและหยุดเสพติดอาหารรสหวานได้ สารต่อต้านระบบ CRF ยังช่วยลดระดับความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างงดอาหารหวานด้วย แต่สารชนิดนี้จะส่งผลต่อตับ ถ้านำมาใช้กับมนุษย์ ศาสตราจารย์วินเซนโซ คามานาลี ผู้อำนวยการศูนย์ความผิดปกติทางการรับประทานอาหารของอิตาลีบอกว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับประทาน มักจะทานน้ำตาลเพื่อคลายเครียด โดยอาจจะไม่รู้ตัวว่าเป็นอาการเสพติด เนื่องจากน้ำตาลส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมองทันที ช่วยให้ความเครียดความวิตกกังวลและอารมณ์ไม่ดีทั้งหลายลดลงได้

คาพานาลีเห็นว่าการใช้ยายังคงเป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับประทานซึ่งก็เป็นการรักษาในระยะยาว ดังนั้นก่อนที่จะรับประทาน ลองชั่งใจดูสักนิดว่า อาหารที่มีรสชาติหวานมากเกินไปหรือไม่เพราะถึงแม้ว่าน้ำตาลจะลดคลายเครียดได้ แต่ก็อาจจะสร้างปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาไม่น้อย

ที่มา : สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook