วิธีรักษาอาการเล็บขบด้วยตนเอง แบบง่ายๆ พร้อมวิธีป้องกัน

วิธีรักษาอาการเล็บขบด้วยตนเอง แบบง่ายๆ พร้อมวิธีป้องกัน

วิธีรักษาอาการเล็บขบด้วยตนเอง แบบง่ายๆ พร้อมวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ว่ากันด้วยเรื่องของ เล็บขบ เชื่อว่าใครที่เคยเป็นคงจะทราบกันดีนะคะว่าทั้งเจ็บจนน้ำตาแทบเล็ด และปวดทรมานมากแค่ไหน ยิ่งหากมีหนองด้วยแล้วเกิดแตกขึ้นมาอีกล่ะก็คงไม่ต้องบอกนะคะว่าจะทรมานขนาดไหน วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกันกับอาการเล็บขบนี้กันดูนะคะ 

เล็บขบ คืออะไร?

อาการเล็บขบ หรือที่เรียกว่าเล็บคุด นั้นเกิดจากบริเวณปลายเล็บของเราจิกเข้าไปในซอกเล็บ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการอักเสบขึ้นจนบวมและแดง และยิ่งหากปล่อยไว้เนิ่นนานโดยไม่รีบรักษาล่ะก็ จะทำให้เกิดเนื้อเยื่องอกขึ้นมาทำให้เวลาเดินยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น โดยหากระบมมากจนมีหนองไหลออกมาก็อาจทำให้บางคนถึงขนาดต้องถอดเล็บออกกันเลยทีเดียวนะ

สาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดเล็บขบขึ้น?

  1. ผู้ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าประเภทที่บีบเท้าของเรามากเกินไป ทำให้เวลาเล็บงอกใหม่จะทิ่มลงไปในเนื้อ
  2. ผู้ที่ชอบตัดเล็บแบบชนิดแนบเนื้อมากเกินไป ทำให้เวลาเล็บงอกมาใหม่จะถูกกดลึกลงไปในเนื้อเกิดการอักเสบมากขึ้น
  3. เกิดจากอุบัติเหตุอย่างการเดินเตะเก้าอี้ หรือชนโต๊ะ ทำให้เล็บฉีกแล้วทิ่มลงไปในซอกเล็บ
  4. มีเชื้อราขึ้นเล็บ
  5. การได้รับวิตามินเอมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดเล็บขบได้เช่นกัน

อาการของผู้ที่เป็นเล็บขบ

  1. เริ่มแรกมักจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อยและรู้สึกเจ็บเวลาสัมผัสโดน
  2. เมื่อเริ่มเป็นมากขึ้นก็จะรู้สึกเจ็บหรือปวดมากโดยไม่ต้องสัมผัสโดนอะไร
  3. มีหนองไหลออกมาจากบริเวณเล็บขบทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  4. เล็บจะมีการหนาตัวมากขึ้น รู้สึกปวดจนไม่สามารถใส่รองเท้าได้
  5. และหากรุนแรงมากอาจติดเชื้อถึงกระดูกภายใน

วิธีรักษาอาการเล็บขบด้วยตนเอง

  1. ให้แช่เท้าในน้ำอุ่น
  2. ทำความสะอาดบริเวณเล็บขบให้สะอาดอยู่เสมอ
  3. อย่าให้เท้าเปียกน้ำ พยายามเช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  4. ควรใส่รองเท้าแบบพอดีกับเท้าของเรา ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป

การป้องกันการเกิดเล็บขบ

  • ก่อนจะตัดเล็บทุกครั้งให้แช่เท้าในน้ำสักครู่ให้เล็บอ่อนตัวก่อนจะทำให้เล็บตัดง่ายขึ้น และควรตัดอย่าให้ชิดเนื้อมากเกินไป และอาจใช้ตะไปลบคมจากเล็บด้วยก็จะดีค่ะ
  • เลือกรองเท้าที่พอดีกับรูปเท้าของเรา ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป
  • ป้องกันการเกิดเชื้อราหรือเชื้อโรคต่างๆ ตามซอกเล็บ ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง อย่าปล่อยให้เปียกชื้น
  • พยายามอย่าให้เท้าไปชนกับขอบโต๊ะหรือเก้าอี้
  • หากเล็บขบอักเสบมากจนถึงขั้นมีหนองไหลออกมา ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา
  • ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากเล็บขบ

หมั่นดูแลรักษาสุขภาพเท้าให้ดีนะคะ ระมัดระวังอย่าให้เกิดอาการเล็บขบขึ้น เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดทรมาน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆ แล้ว ยังทำให้เล็บงามๆ หมดสวยอีกต่างหาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook