กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!

กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!

กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปวดหัวตัวร้อน มีไข้ทีไร เราจะต้องนึกถึงยาสามัญประจำบ้านเม็ดสีขาวๆ กันเสมอ และแน่นอนว่า “ยาพารา” ยาสามัญประจำบ้านที่ผู้คนส่วนมากใช้มันเป็นทางออกของอาการเจ็บป่วยที่เรียกได้ว่าเกือบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดท้อง ปวดตามตัว หรืออาการปวดอื่นๆ ที่คิดว่าพารามันจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ ทว่าเป็นที่น่าตกใจว่าในปัจจุบันเรากินยาพารากันในปริมาณมากเกิน จนเสี่ยงต่อการสะสมของสารพิษที่จะทำต่อร่างกาย หลายคนยังไม่รู้ตัวว่ายาชนิดนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อ “ตับ” แม้ว่าจะมีส่วนช่วยให้อาการปวดต่างๆ ทุเลาลง แต่กระนั้นการกินที่มากเกินควร ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการ ไปจนถึงความเคยชิน พาราจึงกลายเป็นยาที่กำลังจะสร้างปัญหาต่อสุขภาพของเราได้ในไม่ช้า

กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!
กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!

เมื่อโรงพยาบาลใช้ยาพาราเป็นยาพื้นฐานของการรักษา
หนึ่งในสาเหตุของการใช้ยาเกินปริมาณ นอกจากความไม่รู้ของผู้ใช้เอง ตามโรงพยาบาล คลีนิคหรือตามร้านขายยาทั่วไป มักจะจ่ายยาพาราเป็นตัวหลัก เมื่อผู้ป่วยบอกอาการที่รู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดต่างๆ การให้ยาพาราจึงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบหรือให้คำแนะนำที่ดีต่อผู้ป่วย

กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!
กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!

ทำให้คนไทยเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่รู้สึกไม่สบายตัว จะต้องนึกถึงยาพาราก่อนยาอื่นๆ บางคนยังใช้ยาพาราเป็นยาดักอาการก่อนที่มันจะเริ่มเป็น โดยทั่วไปของการใช้จะกินครั้งละ 2 เม็ดหลังอาหาร ในทุกๆ 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ดังนั้นทำให้เราเสี่ยงต่อการรับยาเกินปริมาณที่ปลอดภัยในแต่ละวัน ซึ่งตามหลักควรได้รับไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน และไม่ควรได้รับติดต่อกันนานเกินไปอีกด้วย สารที่อยู่ในยาพาราเป็นผลเสียโดยตรงต่อตับ ทำให้ตับได้รับสารพิษเกินปริมาณ สังเกตได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคตับจะถูกห้ามใช้ยานี้ในการรักษา เนื่องจากมันจะไปกระตุ้นให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้นได้

กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!
กินพารามากไป รู้ไว้.. เสี่ยงตับพัง!

การแก้ไขที่สามารถทำได้ในปัจจุบันคือทางกระทรวงสาธารณะสุขและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องหันมาดูแลและให้คำแนะนำแก่ประชาชนอย่างจริงจัง อีกทั้งควรลดปริมาณความเข้มข้นของยาที่ขายอยู่ในท้องตลาดจากเดิมอยู่ที่ 650 มิลลิกรัม ให้เหลือประมาณ 350 มิลลิกรัมเหมือนในต่างประเทศ ก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แม้ว่ายาจะเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาโรคได้ แต่หากกินมากเกินไปมันก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่พร้อมจะทำร้ายเราได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรตระหนักเอาไว้เสมอว่าร่างกายถูกสร้างขึ้นมาให้เยียวยาตัวเองได้ อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยก็ควรใช้วิธีนอนหลับพักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook