ปัจจัยเสี่ยงภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน
ภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในอาการที่เรามักจะพบได้มากขึ้นในสังคมเมืองปัจจุบัน และพบได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ส่งผลอันตรายโดยตรงต่อระบบการทำงานของร่างกาย แต่มักจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในวัยของการทำงาน หากต้องพบเจอกับโรคนี้เข้า ก็ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อหน้าที่การงานของตนเองอย่างแน่นอน
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า
ส่วนมากความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าในที่ทำงานมาจากสภาพความเครียด ความกดดันและ และความสัมพันธ์ทางด้านสังคมภายในองกรณ์ที่อาจจะสร้างแรงตึงเครียดขึ้นกับเหล่าพนักงานจนเกิดการสะสมกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด ในผู้ป่วยบางรายยังพบว่าอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกับกับสภาพจิตใจภายในครอบครัว ปัญหาทะเลาะเบาะแว้งและความแตกแยกที่เกิดขึ้นภายใน ก็เป็นส่วนที่จะกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานมีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประสบการณ์ในการทำงานก็มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพของจิตใจด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคนที่มีประสบการณ์น้อย เป็นมือใหม่ มักจะต้องได้รับการถูกจับตามอง การมีพี่เลี้ยงคอยชี้แนะการทำงาน อาจจะส่งผลให้เกิดการดุด่าว่ากล่าวสูง ส่งผลให้พนักงานรู้สึกหวาดกลัว กังวลในหน้าที่ๆ ตนเองได้รับมอบหมายว่าจะสามารถทำได้ดีหรือไม่ ทำให้ความคิดเหล่านี้วนเวียนอยู่ในหัวอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในช่วงเวลาของการพักผ่อนอยู่บ้าน ก็อาจจะทำให้เกิดการนำเอาเก็บมาคิดจนนอนไม่หลับได้ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ความเจ็บป่วยและโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับบุคคลในองกรค์ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการทำงานของคนนั้นๆ
ทำให้การทำงานที่ไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความกังวลว่าตนเองจะถูกไล่ออก ตกงานและเกิดปัญหาชีวิตที่ยากจะจินตนาการได้ เรียกได้ว่าบรรยากาศในที่ทำงานหากแวดล้อมไปด้วยสภาวะความกดดันต่างๆ นานาก็ย่อมมีผลทำให้สุขภาพจิตพนักงานมาพร้อมความเคร่งเครียดไปตามๆ กันแน่นอน และหากใครที่เอาแต่เครียด วิตกกังวล ไม่เคยมองหาวิธีแก้ไขปัญหา ยิ่งหากมองโลกในแง่ร้ายไปด้วยยิ่งแล้วใหญ่ทีเดียว เพราะจะยิ่งทำให้ภาวะซึมเศร้ากำเริบหนักขึ้นได้นั่นเอง
ดังนั้น ผลกระทบเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับพนักงานส่วนมากที่ทำงานอยู่ภายใต้องกรณ์ใดก็ตาม มีความเสี่ยงที่บุคคลจะต้องเจอกับภาวะซึมเศร้าที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากผู้บริหารจะตระหนักเห็นและเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้มีความเข้าใจมีความรู้สึกกับพนักงานในบริษัทตนเองให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนบรรยากาศของการทำงานไม่ให้เป็นไปอย่างอึดอัด ไม่สร้างความกดดันให้พนักงานทุกคน ให้ทุกคนทำงานเป็นเหมือนพี่น้องที่บางจังหวะเวลาก็ควรมีการพักเบรค ปรึกษาหารือเรื่องงาน สร้างช่วงเวลาหัวเราะ สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นก็อาจจะช่วยให้โรคเหล่านี้ลดน้อยลงไปได้บ้างแล้วค่ะ