เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 10
เดือนที่ 10
ลักษณะลูกน้อย
ระยะนี้ลูกมักมีฟันหน้าขึ้นครบ 4 ซี่แต่ยังไม่ถึงกับต้องแปรงฟันให้ เพียงใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้ก็พอ วัยนี้อัตราเพิ่มของน้ำหนักจะลดลงอยู่ระหว่างประมาณ 5-10 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ย
เดือนนี้เริ่มเป็นตัวเองมากขึ้น ต่อต้านสิ่งที่ไม่อยากทำมากขึ้น เช่นไม่ชอบให้จับนั่งกระโถนช่วงนี้คุณแม่อาจจะปล่อยลูกให้เล่นอยู่คนเดียวบ้าง และการเล่นของลูกแฝงไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น และค่อยๆจดจำ
ถึงเวลาอาหารเสริม
วัยนี้กินอาหารปริมาณเท่าใดขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ต้องทำพิเศษ แบ่งจากของผู้ใหญ่ได้ ถ้าอาหารที่ให้มีทั้งแป้ง ผัก เนื้อ ถั่ว ก็ไม่ต่องห่วงว่าลูกจะขาดสารอาหาร ส่วนตารางอาหารเสริมที่ว่าลูกควรได้รับเท่าไหร่วันละ 2 มื้อ หรือ 3 มื้อ เป็นเพียงแนวทาง ถ้ากินข้าวหมดภายใน 10-15 นาที จะให้วันละ 3 มื้อก็ได้ แต่ถ้าป้อนข้างเกือบ 1 ชั่วโมง ถ้ายังให้วันละ 3 มื้ออยู่ ลุกจะไม่มีเวลาออกไปเล่นนนอกบ้าน อย่างน้อยก็เป็นเช้าเย็นช่วงละ 1- 1 ½ ชั่วโมง เวลาที่เหลือให้เป็นเวลานอน เวลาให้อาหาร ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคนดีกว่า
ขนม เรื่องที่ต้องยอมบ้าง
บางคนไม่ยอมให้ลูกกินขนม เพราะกลัวอิ่มจนไม่กินข้าว แต่ลูกก็ยังอยากกินอยู่นั่นเอง ดังนั้นควรให้ลูกกินบ้าง เช่น ขนมปังกรอบ ซาลาเปา ขนมฝรั่ง แพนเค้ก คัสตาร์ด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมไทยต่างๆควรทำให้สะอาด รสอ่อน ไม่หวานจัด ส่วนผลไม้ควรให้กินเป็นชิ้นๆ ไม่ต้องบด หรือปรุงแต่งรส กำหนดเวลาให้กินไม่เกิน 2 ครั้งต่อวัน เช่น ให้นมก่อนมื้อบ่าย ไม่ให้กินพร่ำเพรื่อทั้งวัน เพราะจะทำให้กินมื้อหลักได้น้อยลง ร่างกายได้แต่น้ำตาล ลูกที่อ้วนหนักเกิน 10 กิโลไม่ควรให้มาก เลี่ยงไปให้วุ้นผลไม้ (ยกเว้นกล้วยที่ให้แคลอรี่สูง)แทน
อาการที่อาจเกิดขึ้น
• นึกถึงโรคระบาด
o ถ้าเด็กคนไหนไม่เคยเป้นไข้มาก่อนแล้วให้นึกถึงส่า ไข้ ถ้าอยู่ในช่วงที่ไข้เลือดออกระบาด ให้นึกถึงไข้เลือดออก พยายามให้ลูกได้ดื่มน้ำมากๆ ในช่วงที่เป็นไข้ ลูกอาจมีตุ่มเล็กๆที่ผิวหนัง เรียกว่า ผื่นเม็ดนูน แต่ไม่มีไข้ ลูกอาจเป้นผื่นแพ้อย่างอื่นก็ได้ ต้องระวังไม่ให้ลูกเป็นโรคติดต่อ ซึ่งติดจากพี่ที่ติดจากโรงเรียน
o ถ้าพี่เป็นหัด และน้องยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ควรพาไปฉีด
o ถ้าพี่เป็นอีสุกอีใส จะระวังยา กว่าจะรู้ว่าพี่เป็นน้องก็ติดไปแล้ว
o เมื่อเห็นตุ่มอีสุกอีใสของลูกคนพี่ ให้คิดว่าอีก 2 สัปดาห์ก็จะเห็นตุ่มของน้อง แต่ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถึงจะติดเด็กอ่อนก็ไม่เป็นไร
o โรคคางทูม บางครั้งก็ติดเด็กอ่อน บางครั้งก็ไม่ติด วัยนี้ถึงจะเป็นคางทูมอาการก็เบามาก จนสังเกตไม่ออก ถ้าพี่เป้นคางทูมก็ไม่ต้องแยกน้องออกไปก็ได้
o ถ้าคนพี่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนและเป็นโรคนี้ ต้องแยกน้องให้ห่างที่สุด ถ้าน้องฉีดวัคซีนป้องกันไว้แล้ว ถึงอาการจะไม่หนักนัก แต่ถ้าน้องไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันไว้ ต้องระวังให้มาก ถ้า 3-4 วัน หลังจากที่พี่เป็น แล้วน้องเริ่มจาม มีน้ำมูก ให้สงสัยว่าจะติดไอกรน ต้องรีบทำการรักษา
o ถ้าพี่เป็นหัดเยอรมัน ไม่ต้องแยกน้องออก เพราะถึงติดกันอาการก็ไม่หนัก
o ถ้าพี่เป็นโรคตาแดง ต้องระวังให้น้องอยู่ห่างๆ เพราะเชื้อโรคจะติดต่ออยู่ที่ต่างๆ เช่นลูกบิดประดู อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ผ้าเช็ดตัว ต้องระวังไม่ให้น้องจับด้วย และไม่ควรใช้ของร่วมกับพี่
• หลังหูลูกมีก้อนแข็งๆ
o คุณแม่อาจพบก้อนแข็งๆเท่าเมล็ดถั่วหลังหู อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ กดดูลูกก็ไม่แสดงอาการเจ็บ ที่จริงก้อนเนื้อนี้คือ ต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นผดบนหัวแล้วลุกชอบเกา เชื้อโรคที่อยู่ในเล็บจะเข้าไปใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองที่ทำการสกัดกั้นไว้จึงโตขึ้น อาจเป็นก้อนอยู่นานกว่าจะหาย ชาวบ้านเรียกว่า "ลูกหนู" ก้อนนี้จะไม่แสดงอาการไม่อักเสบ และจะหายไปเองแต่ถ้าต่อมน้ำเหลืองอักเสบ บริเวณรอบๆ ก็จะแดง เจ็บเวลากด ซึ่งมักเกิดขึ้นน้อย วิธีป้องกัน คือ ไม่ให้ลูกเป็นผดบนศัรษะ ตัดเล็บให้สั้น และถ้าก้อนแข็งใหญ่ขึ้น ต้องพาไปให้หมอตรวจดู
• กินของแปลกปลอม
o วัยนี้มักชอบเก็บของเล็กของน้อยเข้าปากหรือเวลาหัวเราะ ร้องไห้ขณะที่มีของในปาก ก็อาจตกเข้าไปในหลอดลมได้ แต่ถ้ากลืนของชิ้นใหญ่เข้าไปติดที่หลอดอาหาร เด็กจะทุรนทุราย ถ้าของไปติดที่กล่องเสียงหรือหลอดลม เด็กจะไอ แล้วถ้าเห็นว่าเสียงร้องไห้แหบแห้ง แสดงว่าอาจติดที่กล่องเสียง
o วิธีแก้ไข ให้เอาเด็กคว่ำหน้าลง แล้วใช้ฝ่ามือตบหลังแรงพอควร เพื่อให้สิ่งของเหล่านั้นออกมาจากหลอกลม ถ้าไม่ออกให้รีบพาไปหาหมอทันที ถ้าลูกกลืนเข้าไปแล้วก็ต้องตรวจดูว่ากลืนอะไรเข้าไป ถ้าไม่ใช่ของแหลมคมก็ไม่เป็นไรเพราะของนั้นจะออกมาจากอุจจาระ แต่ไม่ควรให้ลูกกินยาถ่ายเอง ถ้าของเข้าจมูก ถึงจะเห็นจากข้างนอกน่าจะเอาออกง่าย ก็ไม่ควรทำ ถ้าพลาดอาจหลุดเข้าไปลึก จะเอาออกยากขึ้น ถ้าของหลุดเข้าไปหลายวัน ก็จะมีกลิ่นเหม็นออกมาจากปากจมูกของเด็ก ต้องรีบพาไปหาหมอไปตรวจ หู ตา คอ จมุก ยิ่งถ้ามีน้ำไหลออกจากหูอีกข้างหนึ่ง มีเลือดปนให้มั่นใจได้ว่ามีของเข้าไป และทางที่ดี ไม่ควรให้ลูกวัยนี้กินของเล็กๆ เช่นถั่วลิสง น้อยหน่า หรืออื่นๆ
• พัฒนาการของหนู
o ร่างกาย
- เกาะโต๊ะหรือจูงมือ แล้วเดินไปรอบๆได้
- เริ่มหัดยืนโดยไม่เกาะอะไรได้แล้ว ยื่นเองได้ชั่วครู่
- สำหรับเด็กที่อาจเดินเร็ว อาจเดินได้ในช่วงนี้
- ชี้บอกอวัยวะได้
- เริ่มใช้มือข้องข้างหนึ่ง มากกว่าอีกข้างหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าลูกถนัดข้างใด
- ดึงหมวกออกเอง
o สังคม
- รู้จักเชื่อมโยงคำพูดกับท่าทาง เช่น การส่งจุ๊บ ยิ้มหวาน
- กินเองได้คล่องขึ้น ยกแก้วดื่มน้ำเองได้
- เลียนแบบท่าทาง สีหน้าของผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด
- ชอบฟังเพลง โยกตัวเมื่อได้ยินเสียงเพลง
• เล่นกับหนูหน่อย
o ลูกชอบเล่นปิดตาจ๊ะเอ๋ ปิดปากจุ๊บ ชอบเล่นปิดฝา เปิดจุกขวดน้ำเทออกเล่น หรือเล่นกับสบู่ฟองน้ำ
o ควรให้ลูกได้ออกกำลังกาย โดยเกาะกล่องใหญ่ที่ใส่ของหนักๆ เข็นเดิน ไม่ควรให้เข็นรถที่มีล้อ เพราะรถจะวิ่งเร็วถ้าเป็นเก้าอี้หนักๆที่มีล้อ พอจะให้เด็กเข็นได้ แต่ต้องเฝ้าระวังอยู่ด้วย
o วัยนี้ชอบนั่งชิงช้า ถ้าจะให้เล่นก็ต้องนั่งอยู่กับลูกด้วย แล้วหาแผ่นนิ่มปูรอง หรือปูทรายให้ชิงช้าป้องกันลูกหล่นลงมาแล้วเจ็บ
o ลูกที่ยังยืนไม่เก่งควรช่วยฝึก โดยให้ลุกจับห่วง 2 มือ แล้วคุณแม่ช่วยดึงให้ยืน การฝึกแบบนี้ทำวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5-6 นาทีก้พอ เด็กที่ตัวหนักจนยืนไม่ไหวก็ไม่ควรฝืนฝึกให้ยืน แต่ควรปล่อยให้เล่นนอกบ้านหรือออกกำลังกายบนพื้นสนามอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมงจะดีกว่า