เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 11
เดือนที่ 11
ลักษณะของลูกน้อย
• ฟันของลูกน้อย
o เด็กบางคนที่ฟันขึ้นด้านหน้า 2 ซี่บน และ 2 ซี่ล่างแล้ว ระยะนี้จะมีฟันขึ้นข้างๆ 2 ซี่บน กลายเป็นฟันบน 4 ซี่แต่เด็กบางคนฟันบน 2 วี่กลางยังไม่ขึ้น ขึ้น 2 ซี่ข้างๆ ตรงกลางโหว่ก็มีอย่างไรก็ตาม ในที่สุด ฟัน 2 ซี่กลางก็จะขึ้น และเด็กจะมีฟันบนฟันล่างอย่างละ 4 ซี่
• เวลานอนของลูก
o เวลานอนของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน วัยนี้มีเด็กจำนวนมากที่เคยนอนกลางวัน 2 ครั้ง แล้วค่อยลดลงเหลือเพียง 1 ครั้ง เด็กบางคนนอนครั้งละ ครึ่ง ชั่วโมง แต่นอนบ่อยๆวันละ 3-4 ครั้งก็มี เวลาตื่นนอนเช้าก็แตกต่างกัน บางคนลืมตาตื่นตอน 6 โมงเช้า พอได้ดูดนมก็หลับต่อ ถึง 8-9 โมง เด็กบางคนนอนรวดเดียว ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า เด็กอาจตื่นมาฉี่แล้วหลับต่อเมื่อได้ดูดนม บางคนหลับสนิทดี ถึงผ้าอ้อมจะเปียก จนเปลี่ยนให้ก็ไม่ตื่น
• ถึงเวลาอาหารเสริม
o อาหารวัยนี้แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของเด็ก ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าเด็กวัยนี้ต้องกินข้าวกี่ถ้วย นมกี่ขวด ตารางอาหารเสริมเป็นเพียงแนวทางสำหรับคุณแม่ ถ้าลูกไม่ได้กินอาหารตามที่แนะนำไว้และลูกก็แข็งแรงดี น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยวันละ 5-10 กรัม ก็ไม่ต้องกังวล
- ตัวอย่างอาหารเช้า
• เช้า 8.00 น. ขนมปังทาเนย 1 แผ่น นม 180 ซี.ซี.
• เที่ยง 12.00น. ข้าวครึ่งถ้วย ไข่ 1 ฟอง ผักต้ม
• บ่าย 15.00น. ขนมปังกรอบ นม 180 ซี.ซี.
• เย็น 18.00น. ข้าวครึ่งถ้วย ปลาหรือเนื้อบด ผัก
• กลางคืน 20.00น. นม 180 ซี.ซี.
• ไม่ยอมกินผัก
o ส่วนมากเป็นเด็กที่คุณแม่ไม่ค่อยให้กินผักต้มเปล่าๆจะใส่ผักผสมลงไปในข้าวตุ๋นตลอด เมื่อไม่คุ้นเคยกับรสชาติของผักล้วนๆ พอคุณแม่ป้อนก็เอาลิ้นดุนๆออกมาหมด จึงต้องใช้วิธีหั่นผักละเอียดๆ แล้วปนลงในไข่ ทำไข่เจียวใส่ผักบ้าง หรือผสมลงไปในหมูสับ ทำหมูทอดใส่ผัก ถ้าลุกไม่ยอมกินผักเลยจริงๆ ต้องยอมให้ผลไม้แทนไปพลาง อาจเป็น ส้ม กล้วย มะละกอ แตงโม ผลไม้ ตามฤดูกาล บงครั้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่นมป้อนให้ บางครั้งให้ลูกถือกัดเอง ไว้โตขึ้นอีกหน่อยค่อยลองใหม่ ไม่ควรใช้วิธบังคับให้ลูกกินผัก ควรใช้คำพูดดีโน้มน้าวลูกจะได้ผลมากกว่า
o ลูกวัยนี้มีทั้งที่กินอาหารเสริม 2 มื้อ กับข้างควรเน้นไข่ เนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์บด เพื่อไม่ให้ขาดดปรตีนจากสัตว์ ลูกวัยนี้ยังให้นมไม่ต่ำกว่าวันละ 500 ซี.ซี. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการให้อาหาร คือ "อย่าบังคับ" ควรให้ลูกกินอย่างมีความสุข และค่อยๆเพิ่มปริมาณตามความต้องการของลูกมิใช่ว่าอายุเพิ่มขึ้น จะต้องเพิ่มอาหารให้เท่านั้นเท่านี้ตามตาราง
• สิ่งของต้องห้าม
พ่อแม่ควรดุลูกเมื่อลูกทำอะไรที่ไม่ดี เช่น ลูกปาขนมปังที่ถืออยู่ในมือ ตกลงใต้โต๊ะ คุณแม่ควรทำให้ลุกรู้ว่าทำอย่งนี้ไม่ดี ครั้งแรกควรดุด้วยสีหน้าและคำพูด "ว่าทำแบบนี้ไม่ได้นะ" ถ้าลุกตั้งท่าจะทำอีก ต้องร้องเตือนก่อนว่า "ไม่ได้นะ" เมื่อลูกเข้าใจที่คุณแม่ห้าม แล้วเลิกปาขนมปัง ต้องชมว่า "ดีมาก" สำหรับลูกเล็กๆ อะไรดีไม่ดีดูจากสีหน้าคุณแม่ว่ายิ้มหรือดุ คุณแม่บางคนไม่ดุ เพราะคิดว่าถึงดุไป ลูกก็ไม่รู้เรื่อง ถึงลูกจะยังไม่รู้ว่าอะไรดีไม่ดี แต่ลุกก้ไวต่อความรู้สึกของแม่มากแต่การทำหน้าดุ เสียงดุ เพื่อห้ามลูกต้องนานๆครั้งถึงได้ผล และเลือกดุในสิ่งที่เป็นอันตรายเท่านั้น และไม่ควรใช้วิธีทุบ ตี หยิก หรือ ทำให้ลูกเจ็บตัวเมื่อทำผิด
อาการที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อลูกบาดเจ็บ
ถ้าลูกลื่นล้ม ตกจากที่สูง ศีรษะกระแทกบาดเจ็บ ใช้ผ้าพันแผลกดไว้ แล้วพาไปหาหมอ ถ้ามีแผลถลอกหรือมีเลือดไหลซิบให้ล้างแผลฟอกสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบๆแล้วใช้ยาแดงทาแผล ไม่ต้องปิดพลาสเตอร์ ผ้าพันแผล
ถ้าตกจากที่สูงเกินกว่าเมตรครึ่งควรพาไปหาหมอ ถ้าชนของแข็งจนเลือดกำเดาออกควรอุ้มไว้ให้ส่วนหัวอยู่สูงกว่าหัวใจ เลือดจะหยุดไหลง่าย แล้วใช้สำลีอุดจมูกข้างที่เลือดออก ถ้าฟันหน้ากระแทกริมฝีปากจนเป็นแผล ปล่อยไว้ได้ เพราะแผลในปากมักหายง่าย ไม่ต้องทายาแดง
เมื่อเก้าอี้หัดเดินล้มคว่ำหัวฝาดพื้น ให้รีบติดต่อหมอถ้าลุกหมดสติ แล้วจับนอนแล้ววางหมอนน้ำแข็งที่ศีรษะ แม้ลูกจะรู้สึกตัวก็ต้องให้นอนเฉยๆสักพัก ถ้าถูกมีดโกน เศษแก้วบาดนิ้ว เอาผ้าพันแผลกดไว้ ถ้าเลือดหยุดภายใน 1-2 นาที ทาแผลด้วยเบตาดีน และใช้ผ้าพันเอาไว้ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรง
อ้วนเกินพิกัด
มีอยู่ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าจำนวนเซลล์ไขมันใต้ผิวหนังจะถูกสร้างขึ้นภายในขวบปีแรก ถ้าเด็กคนไหนอ้วนเกินไปก่อน 1 ขวบ มักจะเป็นคนอ้วนง่ายไปตลอดชีวิต ควรชั่งน้ำหนักลูกทุก 10 วัน ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มเกินกว่า 200 กรัมแปลว่าอ้วนเร็วเกินไป ต้องควบคุมอาหาร เช่น ลด อาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง แต่กับข้าวยังให้เท่าเดิม เพราะแป้งทำให้อ้วนง่ายมากกว่าปลาเนื้อ ถ้าน้ำหนักยังเพิ่มเกินเฉลี่ยวันละ 30 กรัมอยู่อีก ต้องทบทวนดูว่าลูกกินข้าวและดื่มนมมมากเกินไปให้เพิ่มเป็นเต้าหู้ ผลไม้ หรืออาหารที่ไม่มีแป้ง หรือไขมันแทน
เมื่อลูกถนัดซ้าย
คุณแม่อาจสังเกตว่าเมื่อลูกเล่นของเล่นยื่นมือมารับขนมที่ส่งให้ เวลาหยิบช้อน ลูกมักยื่นมือซ้ายก่อนเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ของเด็ก ไม่ใช่เป็นเพราะใช้แขนซ้ายมาก ถึงได้ถนัดซ้าย คุณแม่ไม่ควรพยายามให้ลูกงดใช้มือซ้ายแล้วกันมาใช้มือขวาแทนเพราะการถนัดซ้ายหรือขวาเป็นลักษณะเฉพาะของเด็กไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอย่างใด ไม่ควรดุว่าลูก แต่ควรปล่อยให้ลูกใช้มือข้างที่ถนัดไป หากจะหัดเขียนหนังสือด้วยมือขวา เอาไว้หัดตอนลูกเข้าโรงเรียนแล้วก็ได้ ระยะที่สังเกตเห็นลูกถนัดมือซ้าย คือ ช่วงที่มือกำลังทำหน้าที่สำคัญ ลูกใช้มือสัมผัสโลกเพื่อให้สมองเกิดการเรียนรู้ ไม่ว่าลูกจะใช้มือไหน คุณแม่ควรให้ลูกได้ใช้อย่างถนัด จึงเป็นการสนับสนุนให้ลูกเกิดความอยากทำอะไรก็ทำด้วยตัวของตัวเองได้ดีต่อไป
พัฒนาการของหนู
• ร่างกาย
o ใช้มือยันตัวเองขึ้นมาได้ ก้มตัวจากท่ายืนได้
o นั่งยองๆได้ถนัดมากขึ้น
o ขับดินสอขีดไปมาได้
o บางคนอาจดึงถุงเท้าออกเองได้
o ใช้มือสองข้างทำอะไรไม่เหมือนกัน เช่น มือข้างหนึ่งถือของเล่นอย่างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเล่นของเล่นหรือปาของได้
o จับถ้วยคว่ำเทน้ำทิ้ง
• สังคม
o รู้จักความหมายของคำว่า "ไม่"
o ปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการเก่งขึ้น
o รู้จักเชื่อมโยง เช่น รู้ว่านกอยู่บนฟ้า (ถ้าคุณแม่พาลูกออกไปข้างนอกบ่อย และพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ)
o เลียนแบบการออกเสียงได้เก่งขึ้น เช่น พูดคำว่า "แม่" "ไป"
o รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น หยุดพฤติกรรมของตัวเองได้
• เล่นกับหนูหน่อย
o ลูกวัยนี้ใช้นิ้วได้คล่อง ควรโยนเล่นลูกบอลแล้วให้ลูกตามไปเก็บบอลมา หรือหาสีเทียนให้ถือ และลองจับมือลูกลากละเลงสีบนกระดาษ
o ลูกมักชอบเล่นกับของใช้ในบ้านมากกว่าของเล่นที่ซื้อมา บางคนชอบดูภาพโดยเฉพาะในหนังสือที่มีภาพใหญ่ๆง่ายๆ
o ถ้าลูกเริ่มหัดเดิน หาเวลาพาลูกเดินบริเวณสนามหญ้าก็ได้