ย่านาง สมุนไพรหมื่นปีไม่มีแก่

ย่านาง สมุนไพรหมื่นปีไม่มีแก่

ย่านาง สมุนไพรหมื่นปีไม่มีแก่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับใบย่านางในรูปของเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารพื้นบ้านไทยๆ จนเข้าใจกันว่าเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง ทว่าในความเป็นจริง ย่านางคือสมุนไพรใกล้ตัวคู่บ้านคู่ครัวไทยมาแล้วหลายยุคหลายสมัย

หมอยาภาคอีสานโบราณจะเรียกชื่อของย่านางว่า "ย่าหมื่นปีไม่แก่" เพราะด้วยสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รวมไปถึงรักษาโรคมะเร็ง ที่สำคัญยังเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารแล้วยังมีรสชาติอร่อยถูกปากได้หลายเมนู จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมขณะนี้ ย่านาง จึงกลายเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกชนิด

ลักษณะของต้นย่านาง จะเป็นเถาไม้เลื้อย เถามีรูปร่างกลมขนาดเล็กแต่มีความเหนียว เถาสีเขียวเมื่อเถาแก่จะมีสีเข้มคล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิค่อนข้างเรียบ รากมีหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับรูปร่าง ลักษณะคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบย่างนางที่ขึ้นในภาคใต้จะเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน ดอกออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน ช่อหนึ่งๆ จะมีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดอกโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย มักออกดอกช่วงเดือนเมษายน ผลมีรูปร่างกลมเล็กขนาดเท่าผลมะแว้งสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดงหรือแดงสดเมื่อแก่จัดจนสุกงอมจะกลายเป็นสีดำ

การปลูกย่านางสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดและปลูกได้ทุกฤดู โดยขยายพันธุ์ด้วยการใช้หัวใต้ดินหรือเถาแก่ที่ติดหัว นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการปักชำยอดและเพาะเมล็ด

นักบำบัดสุขภาพทางเลือก หมอเขียว-ใจเพชร กล้าจน นักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานเวชกรรมสังคม ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของย่านาง รวมถึงได้นำมาทดลองบำบัดโรคแล้วพบว่า ย่านางมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์มากมาย

"ผมพบความมหัศจรรย์ของย่านางครั้งแรก เมื่อคุณแม่ของผมตกเลือดจากมดลูกอย่างรุนแรง จากนั้นผมตัดสินใจใช้ย่านางเป็นสมุนไพรหลักในการบำบัดอาการคุณแม่ ผลปรากฏว่าอาการดังกล่าวทุเลาลงอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน เลือดหยุดไหล และเมื่อใช้ย่านางบำบัด อีกสามเดือนต่อมา มดลูกที่โตถึง 16 ซม. ก็ยุบลงเหลือเท่าขนาดปกติ คือเท่าผลชมพู่ ผิวมดลูกที่ขรุขระเหมือนหนังคางคกก็หายไป อาการตกขาวก็หายไปด้วย ต่อมาผมทดลองใช้ย่านางกับผู้ป่วยมะเร็งตับ ผู้ป่วยก็อาการดีขึ้น เมื่อครบ 3 เดือนไปตรวจอัลตร้าซาวนด์พบว่า มะเร็งฝ่อลง จากนั้นก็ทดลองกับผู้ป่วยโรคเกาต์ให้ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่องสามเดือน อาการปวดข้อก็หายไป พอไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบโรคเกาต์ ซึ่งทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า หลังจากดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง สามารถลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตได้จริง"

ส่วนการศึกษาข้อมูลอื่นของย่านาง หมอเขียวได้ให้ความรู้เอาไว้ดังนี้

*ใบย่านางกับการบำบัดโรค

เช่น ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย ท้องผูก แสบท้อง มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดง มีตุ่มใสคัน เป็นเริม งูสวัด หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น อ่อนเพลีย เจ็บปลายลิ้น หูอื้อ ตาลาย เกร็ง ชัก โรคหัวใจ ไซนัสอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เบาหวาน เนิ้องอก มะเร็ง และพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น

*ย่านาง...ปรุงรสเพื่อปรับสมดุลให้ร่างกาย

การปรับสมดุลให้ร่างกาย สามารถทำได้โดยใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป ดังนี้

1. เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-600 ซีซี)

2. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอมบาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

3. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอมบาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

4. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว โดยใช้ใบย่านางโขลกละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นเครื่องปั่นไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากทำน้ำย่านาง เพราะถ้าปล่อยเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวไม่เหมาะที่จะดื่ม ส่งผลให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำเย็นหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลัก

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook