เมื่อมนุษย์ใช้ เฟซบุค เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันเอง!!!

เมื่อมนุษย์ใช้ เฟซบุค เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันเอง!!!

เมื่อมนุษย์ใช้ เฟซบุค เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันเอง!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ความขัดแย้งทางด้านความคิดในสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นปัญหาสำคัญ เมื่อมีการนำข้อมูลของฝ่ายที่เห็นต่างมาปลอมแปลงให้ร้ายจนเกิดความเดือดร้อน หนึ่งในผู้ที่ตกเป็นเหยื่อคือนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตไปสร้างเฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน

นับพันข้อความส่งมาต่อว่า กว่าร้อยสายโทรมาด่าทอและข่มขู่ ทำให้ นส.กมลชนก ยิ้มพิมพ์ใจ หรือ น้องไอซ์ นิสิตปีสาม มศว.ต้องเครียดจัด หวาดระแวง จนหวาดกลัวเสียงโทรศัพท์ 

หญิงสาวคนนี้ทำธุรกิจออนไลน์ขายคอนแทคเลนส์ เพื่อหารายได้แบ่งเบาทางบ้าน แต่พลันเมื่อภาพและที่อยู่ของเธอไปปรากฏบนเฟซบุ็ค ซึ่งโพสท์ข้อความหมิ่นสถาบัน ก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป

เธอเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่เธอไปโพสท์ข้อความต่อต้านการหมิ่นสถาบัน จนฝ่ายที่คิดต่างเห็นเข้าก็เกิดความโกรธแค้น นำไปสู่การใช้วิธีการสกปรก กลั่นแกล้งให้เธอกลายเป็นคนหมิ่นสถาบันไปเสียเอง

น้องไอซ์ เปิดใจระบายความรู้สึกที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความโกรธแค้นอย่างไร้เหตุผลว่า "คนที่ทำเขายังมีจิตใจเป็นคนอยู่หรือเปล่า จะให้เด็กมหาวิทยาลัยคนหนึ่้งเสื่อมเสียทั้งชื่อเสียง เสื่อมเสียไปถึงสถาบันเลยเหรอ...สุดยอดมาก"

เธอยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นกับเธอ รุนแรงเกินกว่าที่ชีวิตจะรับได้ แต่เธอก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการร้องไห้ "ร้องไห้ค่ะ ร้องมาก วันแรกๆ ที่โดนเครียดมาก เฮ้ย! ทำไมชื่อเรา ข้อมูลส่วนตัวเรา ทุกอย่าง ทำไมมันถูกไปโพสท์เป็นข้อความ ซึ่งที่จริงมันคงไม่มีใครกล้าทำขนาดนี้หรอกค่ะ ลงทั้งชื่อจริงนามสกุลจริง"

เธอเพียงแค่ฝากบอกคนที่กำลังตัดสินเธอจากเฟซบุคหรือตัดสินว่าเธอเป็นคนผิดไปแล้วนั้นให้ทราบว่า เธอไม่ได้คิดและกระทำอย่างที่ถูกกล่าวหา

ผู้หลงเชื่อข้อความในเฟซบุ็คโดยสร้างขึ้นเพื่อใส่ร้าย ได้โทรศัพท์ไปต่อว่ายังสถานศึกษามากมาย จนถึงขั้นเสนอให้ไล่ออก กระทั่งมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า เธอโดนกลั่นแกล้ง

"เหตุการณ์นี้มีทั้งคนที่โกรธ เช่น โทรศัพท์เข้ามาที่สถาบัน ตำหนิๆ แล้วก็วางสายไป บางคนพูดจารุนแรงถึงขั้นว่าให้ไล่เขาออกไปเลยก็มี บางคนที่มีเหตุผลหน่อยก็จะลำดับให้เราฟังว่าทราบมาจากแหล่งไหน อย่างเช่น ฟอร์เวิร์ดเมล์ เขาก็อยากให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยตรวจสอบก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องจริงก็อยากให้ทางมหาวิทยาลัยชี้แจงว่าจะพิจารณาบทลงโทษนิสิตรายนี้อย่างไร

พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดี DSI ซึ่งรับผิดชอบคดีหมิ่นสถาบันทั้งหมด ยอมรับว่า เป็นสิ่งที่ยากมากจนเกือบจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเข้ากลุ่มสังคมออนไลน์ เช่น ไฮไฟว์, เฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ เพราะอาจมีผู้คัดลอกข้อมูลไปแอบอ้าง หรือปลอมแปลงให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้น ผู้ที่เสพข้อมูลต้องมีสติ มีวิจารณญาณในทันที และต้องไม่ส่งต่อข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เพราะตามกฏหมายคอมพิวเตอร์ พศ.2550 ระบุชัดเจนว่า ผู้ส่งต่อข้อความ มีโทษเทียบเท่ากับผู้โพสท์ข้อความ คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตลอดระยะเวลาสี่ปีมานี้ มีกระทู้และเว็บบอร์ดเข้าข่ายการหมิ่นสถาบันนับพันกระทู้ มีการแจ้งความดำเนินคดีทั่วประเทศแล้วกว่า 200 คดี ผู้ทำผิดหลายคดีเป็นบุคคลๆ เดียวกัน ผู้คิดใช้วิธีนี้จึงอาจจะยังไม่ทราบว่า บทลงโทษของคดีนั้นรุนแรงถึงขั้นคูณอัตราโทษเท่ากับจำนวนครั้งที่โพสท์ข้อความ

คดีหมิ่นสถาบันถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายคนอื่นได้ง่ายมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ 

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Getty Images

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook