ส้มตำถาด “แซบๆ แต่แฝงด้วยอันตราย”
ถ้าจะให้พูดถึงอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ใครหลายๆ คนชื่นชอบ และมักจะใช้เป็นเมนูลดน้ำหนัก เมนูเพื่อสุขภาพ เมนูนั้นก็คือ ส้มตำ และส้มตำที่กำลังเป็นที่นิยม ยอดฮิตสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวันนั้นคงจะหนีไม่พ้น “ส้มตำถาด” แน่นอนค่ะ
ส้มตำถาดนี้จะแตกต่างจากส้มตำธรรมดาก็คือ จะเป็นการตักใส่ภาชนะที่เรียกว่าจานและเสริฟ แต่ส้มตำถาดนั้นจะตักวางใส่ตรงกลางถาดสังกะสีเคลือบที่มีขนาดใหญ่ พร้อมๆ กับเครื่องเคียงต่างๆ นานาหลายอย่าง อาทิเช่น ผัดดอง กระหล่ำปลีหั่นฝอย เส้นหมี ขนมจีน ไส้กรอกทอด ถั่วลิสง คอหมูย่าง และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วแต่ทางร้านจะจัดสรรมาให้ เราจะเห็นได้ว่าเมื่อมองผิวเผิน เมนูจานนี้น่าจะเป็นเมนูที่ดี มีคุณค่าทางอาหารมากมายครบถ้วน จึงกลายเป็นเมนูยอดฮิต ยอดนิยมสำหรับคนที่ชอบอาหารรสจัด ดังนั้น จึงทำให้ร้านส้มตำหลายร้าน หลายแห่งได้เพิ่มเมนูนี้ขึ้นมารองรับความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้าได้ดังต้องการนั้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าเมนูส้มตำถาดที่แสนอร่อยนี้จะมีอันตรายที่เราคาดไม่ถึงแฝงอยู่เสียแล้ว วันนี้เรามีรายละเอียดในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี คนหนึ่ง ได้ทำการวิจัยและได้เก็บถาดมาทดลอง ซึ่งพบว่าถาดนั้นมีสารแคดเมียมมากเกินมาตรฐาน อาจทำให้ผู้ที่ทานเข้าไปมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน ถ้าหากสารนี้เข้าไปสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมากก็จะทำให้ปวดกระดูด และมีผลต่อตับ ไต ในระยะยาวได้ค่ะ เป็นการทดลองด้วยการหยดกรดแอซีติก หรือกรดน้ำส้มสายชูลงไปในถาด แล้วนำไปแช่ไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบว่า ถาดนั้นมีปริมาณสารแคดเมียมเกินมาตรฐานถึง 3 เท่าเลยละค่ะ
ด้วยอันตรายที่แฝงมากับสำตำถาดนี้เอง จึงขอเตือนให้คุณทั้งหลายเลือกทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารที่ปลอดภัยไม่ทำให้ก่อสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และขอเตือนร้านอาหารส้มตำต่าง กรุณาอย่านำถาดที่เป็นโลหะ หรือถาดที่เป็นสังกะสี หรือแม้แต่จะเป็นจานชามที่พ่นสีก็ตาม นำมาใช้ในการใส่อาหารที่มีรสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้มตำ ต้มยำ ถึงบางร้านจะมีการใช้ใบตองมารองก็ไม่ได้ทำให้อันตรายนั้นลดน้อยลงไปเลย
เพราะถ้าหากทานอาหารที่ใส่ภาชนะดังกล่าวแล้ว ก็จะเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ดี กรณีที่พบสารแคดเมียมเกินมาตรฐานนี้ จะทำให้ผู้ที่กินมีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน คลื่นไส้ มึนศีรษะ และหากสะสมในร่างกายมากๆ จะปวดกระดูกมีผลต่อตับไตในระยะยาวได้นั่นเอง