เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน และสำหรับในเด็กมหาลัยที่ต้องพบเจอกับภาวะกดดันต่างๆ นาๆ ก็เป็นตัวการนำมาซึ่งความเครียด ส่งผลต่อการเรียนและการทำข้อสอบ จนทำให้คะแนนที่ได้นั้นไม่ดีเท่าที่ตั้งใจเอาไว้ เด็กส่วนมากในรั้วมหาวิทยาลัยต้องเจอกับสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามากดดันชีวิต ตั้งแต่เรื่องของการเรียนและความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ส่งผลให้เด็กส่วนมากต้องพบเจอกับปัญหาที่เหมือนๆ กันทั้งสิ้น

Campus1
เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

ความเครียดที่พบได้ในเด็กมหาลัยส่วนมาก จะเป็นเรื่องของการจัดการกับเวลาในการทำสิ่งต่างๆ ระหว่างให้เสร็จลุล่วง ในวัยนี้จะเกิดความเครียดจากการที่คิดว่าตนเองไม่สามารถทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ หรือรู้สึกว่าตนเองอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดความกังวลใจและความกระวนกระวาย ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนจนเกิดอาการท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียน

Campus2
เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

เคล็ดลับวิธีบริหารความเครียด
1.สังเกตที่มาของความเครียด

สังเกตว่าความเครียดของเราที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการบริหารเวลาได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือว่าเป็นเรื่องของภาระหน้าที่ๆ หนักจนเกินไป หากเป็นเรื่องของเวลา เราก็ควรลองปรับเปลี่ยนและวางแผนการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันเสียใหม่ ใส่ใจในรายละเอียดที่สำคัญๆ ก่อน และรู้จักตื่นให้เช้าเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย ก็จะช่วยให้เรามีเวลาในการทำงานต่างๆ ในหนึ่งวันมากขึ้นกว่าเดิม

work1
เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

2.จัดตารางเวลางานให้เหมาะสม
ควรจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม ตั้งแต่ตารางช่วงเวลาการเรียน การใช้ชีวิต ไปจนถึงช่วงเวลาของการพักผ่อน เมื่อถึงช่วงเวลานั้นๆ ก็อย่าลืมที่จะตั้งใจทำมันอย่างเต็มที่และใจจดจ่ออยู่กับงานตรงหน้า ไม่รู้สึกกังวลกับภาระต่างๆ ข้างหลังที่ยังไม่ถึงเวลา เพราะอาจจะทำให้เราเกิดความวอกแวก และทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

Campus3
เคล็ดลับบริหารความเครียดสำหรับเด็กมหา’ลัย

3.ไม่ติดนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
อย่าพยายามผัดวันประกันพรุ่ง หรือการเข้าไปลงมือทำหน้าที่ๆ ที่ไม่ได้รับมอบหมาย แต่เป็นการเพิ่มภาระให้กับตนเองอย่างเปล่าประโยชน์ เราควรจะโฟกัสไปที่หน้าที่สำคัญ หรือการเรียนของเราให้มากที่สุดกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้ช่วยให้เราพัฒนาตนเองหรือเก่งขึ้นได้ หลายคนที่ทำอะไรไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักทีก็เพราะติดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ถ้าหากเราอยากจะให้การเล่าเรียนเป็นไปดีขึ้น ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จเป็นชิ้นอันก็จงมุ่งมั่นทำงานชิ้นนั้นๆ ให้สำเร็จในทันทีทันใดตามกำหนดจะดีกว่า

การบริหารเวลาจะเป็นการช่วยลดความตึงเครียดสำหรับเด็กมหาลัยที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานต่างๆ ที่มากมาย ดังนั้นวิธีการนี้จึงเปรียบเสมือนการเริ่มต้นที่ดี ที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ รู้จักการวางแผนและสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook