วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

แต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่ต่างกันไป เป็นกระบวนการทางสมองของแต่ละคนที่เกิดจากการเรียนรู้และเข้าใจ จนเกิดเป็นจินตนาการนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเรียน โดยอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่สะสม ความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น จะมีอิสระ แปลกใหม่ ซึ่งไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปใช้
2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง เริ่มคำนึงถึงคุณภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เกิดจากการสรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่หลากหลาย

ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อย่างไร

1. ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในด้านความสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สินค้าที่ดีกว่าใหม่กว่าน่าสนใจกว่า ดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากกว่า ผู้ที่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมได้นั้น มักเป็นบุคคลที่ ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี” ซึ่งความไม่พึงพอใจนี่เองที่ทำให้คิดค้นและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้

2. ช่วยในการแก้ปัญหา ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อมมากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ มักใช้ไม่ได้ผล ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้แก้ปัญหาเดิม ด้วยวิธีการใหม่ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า เพราะความเป็นจริงไม่มีรูปแบบใดตายตัวตลอดเวลา สามารถยืดหยุ่นได้

3. ช่วยเราได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าสิ่งเดิม ๆ ทุกอาชีพจึงต้องพึ่งพาผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อจะช่วยให้ทุกองค์กรแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่อนาคต

วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
วิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

1. การมีแนวคิดครอบงำ (Dominant Idea) เมื่อต้องการคิดทำสิ่งใหม่หรือแก้ปัญหา โดยทั่วไปจะมีแนวคิดครอบงำในการแก้ปัญหานั้นอยู่แล้ว ทำให้ถูกชักจูงให้คิดแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกันกับแนวคิดที่ครอบงำนั้น ไม่มองแง่มุมอื่น

2. การมีมโนทัศน์ (Concept) เดิม คือ การที่บุคคลมีความคิด การรับรู้ มีหน้าที่ และฝังใจในสิ่งเดิมๆ ตามที่เคยรับรู้ ทำให้ไม่สามารถคิดว่าจะทำหน้าที่ในลักษณะอื่นได้

3. การมีความเชื่อเดิม (Assumption) เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ปัญหาว่า แนวคิดในการแก้ปัญหาต้องอยู่ในขอบเขตทำให้คิดอยู่ในกรอบ ไม่อาจสร้างแนวคิดอื่นๆ ได้

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

1. เชื่อว่าปัญหาทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ต้องมีสักวิธี เพียงแต่ต้องใช้เวลาและแรงกายแรงใจทุ่มเทลงไป และต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง

2. กล้ายอมรับการตัดสินใจของทีม ยอมรับความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่น ยอมรับการวิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีมได้ แม้ว่าความคิดของตนเองจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ก็ตาม

3. ความสงสัยใคร่รู้ อยากรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร ความจริงคืออะไร ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่ลองวิธีนี้ แค่นี้ก็สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

4. ชอบความท้าทาย ชอบที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพราะคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องพยายามหาทางเอาชนะให้ได้ แค่คุณคิดบวก หรือมีความคิดที่แปลกประหลาด แต่ความคิดนั้นก็อาจนำไปสู่การยอมรับและนำไปปฏิบัติได้จริงนะคะ หลายครั้งที่ความคิดใหม่ ๆ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook