วันนี้ คุณตรวจสุขภาพแล้วหรือยัง?

วันนี้ คุณตรวจสุขภาพแล้วหรือยัง?

วันนี้ คุณตรวจสุขภาพแล้วหรือยัง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคชุดคนทำงานออฟฟิศภัยร้ายผู้บริหารจนถึงพนักงานทุกคน

ชีวิตสังคมเมืองที่เปลี่ยนไป ทำให้เรามีชีวิตที่แข่งชันกันสูงมากขึ้น วันๆต้องทำแต่งานกับงานจนมองข้ามสุขภาพร่างกายของตัวเองไป กว่า 10% ของคนเมืองมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น "โรคออฟฟิศซินโดรม หรือคอมพิวเตอร์ซินโดรม" ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการทำงาน อันเป็นผลพวงให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา

 



โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้สูงกว่าปกติ ซึ่งจะผันแปรไปตามตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารที่จะต้องทนรับกับแรงกดดันจากความรับผิดชอบหลายด้าน ไม่ว่าเรื่องลูกน้อง หรือการแข่งขันทางธุรกิจ ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยเร็ว มีแนวโน้มต่อการถูกคุกคามด้วยโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเครียด โรคนิ่งในถุงน้ำดี และโรคอ้วน เป็นต้น


สำหรับผู้ที่อายุ 25-39 ปี ก็หนีไม่พ้นโรคนี้เช่นกัน ด้วยสภาพการทำงานที่ต้องรีบเร่งล้วนมีส่วนทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป ทั้งการใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมง การอดอาหาร อดหลับอดนอนเพื่อให้งานเสร็จ ทำให้ร่างกายต้องแบกรับภาวะความตึงเครียด ปราศจาการการผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อร่างกายโดยไม่รู้ตัว


ลองให้เวลาตัวเองสักนิด หันกลับมาสำรวจความผิดปกติของร่างกาย จะได้รู้ว่าร่างกายของเราส่งสัญญาณเตือนภัยให้หันมาใส่ใจดูแลตัวเองได้แล้ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ไข โดยทางโรงพยาบาลกรุงเทพของเรามีความห่วงใยและพร้อมที่จะดูแล ป้องกัน ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพกับเหล่าชาวออฟฟิศทั้งหลาย ให้มีสุขภาพแข็งแรงและพร้อมที่จะสูงานหนักต่อไป ด้วยชุดตรวจสุขภาพ ดังนี้


- ชุดตรวจสุขภาพสุดคุ้ม Vital Plus (ตรวจ 13 รายการ รวมตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งสามารถตรวจเช็กการทำงานของระบบทางเดินอาหาร อาทิ ตับ นิ่ว และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม) ราคา 3,900 บาท วันนี้ - 30 มิ.ย. 2553

- ชุดตรวจสุขภาพราคาประหยัด "ไทยช่วยไทย" (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร) ราคา 1,999 บาท

- ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวนด์ ราคา 2,900 บาท (Digital Mammogram with Ultrasound Breast)

- ตรวจมะเร็งปากมดลูก พร้อมตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ราคา 3,200 บาท (Thin Prep & HPV DNA)

- ตรวจมะเร็งปากมดลูก (Thin Prep) ราคา 900 บาท วันนี้ - 31 ก.ค. 2553

 

 

 

10 โรคฮิตคนทำงานออฟฟิศ สำหรับนักบริหารรุ่นใหญ่จนถึงเด็กรุ่นใหม่ ที่มักเจอปัญหาสุขภาพ จากความเครียด การใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ซึ่ง ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพได้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้

40+ GALLSTONES นิ่วในถุงน้ำดี
การกินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดนิ่งในถุงน้ำดี ซึ่งมักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและคนอ้วนมักเป็นโรคนี้มากกว่าคนผอม โดยยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ เช่น กรรมพันธุ์ การอักเสบและการคั่งของน้ำดีในถุงน้ำดี การทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ โดยเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว ถ้าไม่รีบรักษาอาจจะก่อให้เกิดอาการเรื้อรังตามมาได้

CYSTITIS กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาวๆที่นั่งทำงานนานๆ จนบางครั้งลืมเข้าห้องน้ำ หรือบางทีก็ต้องเดินทางไกลทำให้ต้องอั้นปัสสาวะเป็นประจำ เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบซึ่งมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ โดยโรคนี้พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

STRESS เครียดนอนไม่หลับ
โรคเครียด ถือเป็นโรคฮิตสำหรับคนวัยทำงานเลยทีเดียว ไม่ว่าคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ หรือทำงานมาเป็นสิบๆปี ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ว่ากำลังเผชิญอยู่กับภาวะเครียดรุมเร้า วิธีการหลีกเลี่ยงที่ง่ายมากก็คือ พยายามไม่เครียด รู้จักผ่อนคลายเสียบ้าง แค่คุณลองทิ้งงานไปเดินเล่นสัก 10 นาที ก็ถือว่าได้ผ่อนคลายแล้วบ้าง

40+ HYPERTENSION ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงภัยเงียบที่ไม่มีอาการ มักพบเมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยบางอย่าง ได้แก่ การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้แบบไม่ทราบสาเหตุจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนอื่นถึง 3 เท่า นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคอ้วน ความเครียด การรับประทานอาหารรสเค็ม การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า

หรือผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะในสำนักงานจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ทำงานใช้กำลัง แต่ความดันโลหิตสูงไม่ใช่แค่เรื่องความดัน แต่อาจนำมาซึ่งเส้นเลือดแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย พิการ และหัวใจวาย อีกด้วย

OBESITY โรคอ้วน
ล่าสุดพบว่าโรคอ้วนเป็นกันมากขึ้นคนวัยทำงาน โดยเฉพาะพวกที่ชอบทำงานไปด้วยรับประทานไปด้วย ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย โดยโรคอ้วนยังเป็นบ่อเกิดของโรคสำคัญๆ มากมาย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคอ้วนควรดูแลใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษควรปรึกษาโภชนากร และควรหาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

GERD กรดไหลย้อน
คนที่รับประทานไม่เป็นเวลา รีบมากจนเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เครียดจัดจนอาหารไม่ย่อยและคนที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด มักเสี่ยงกับการเป็นโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาเป็นสิบปี อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารส่วนปลายได้อีกด้วย

CHRONIC BACK PAIN ปวดหลังเรื้อรัง
การใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง และใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง แขน ขา และสะโพก อันเกิดเนื่องมาจากโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง

MIGRAINE ไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง
เคยรู้สึกไหมว่าเวลานั่งทำงานเครียดๆ จะรู้สึกปวดหัวบริเวณขมับด้านหน้าศีรษะหรือหลังต้นคอ นั่นคือสัญญาณเตือนให้คุณรู้ถึงสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไมเกรน การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อนและขาดฮอร์โมนบางชนิดก็เป็นปัจจัยก่อให้เกดโรคนี้ได้เช่นกัน

HAND PAIN & NUMBNESS มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคฮิตในกลุ่มนักคอมพิวเตอร์ โดยสาเหตุหลักเกิดจากการยึดจับสิ่งของ หรือเม้าส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท และเส้นเอ็นจนอักเสบจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมากหรืออาจเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังข้อมือซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ทำให้เกิดอาการปวดของปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อค ในปัจจุบันนี้หนุ่มสาวรุ่นใหม่มักมีอาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือเนื่องมาจากการใช้เครื่อง Blackberry หรือเครื่องเล่นอิเล็คทรอนิกส์ที่มีปุ่มเล็กๆ ซึ่งต้องเกร็งนิ้วเวลากด ทำให้เกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบ ปวดตามข้อนิ้วได้ หรือที่เรียกกันว่า Blackberry Thumb

40+ GLAUCOMA ต้อหิน ตาพร่ามัว
1 ใน 10 ของคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคต้อหิน หรือกำลังเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว และที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตาจะบอดได้ สาเหตุเกิดจากการใช้สายตานานๆ การอักเสบหรือติดเชื้อของกระจกตาจากการใส่คอนแทคเลนส์

การที่มีความดันในลูกตาสั้นหรือยาวมากๆ ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์และกรรมพันธุ์ ดังนั้นควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหิน และภัยร้ายต่างๆ ในดวงตาก็จะไม่ถามหาอีกด้วย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook