6 วิธีสร้างเรื่องดีๆ จากการตบตีทางอารมณ์

6 วิธีสร้างเรื่องดีๆ จากการตบตีทางอารมณ์

6 วิธีสร้างเรื่องดีๆ จากการตบตีทางอารมณ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความสัมพันธ์ที่ราบรื่นเกินไปเหมือนคลื่นใต้น้ำที่รอวันก่อตัว เพราะเราล้วนมีความแตกต่าง ความน่ารังเกียจบางอย่างไม่ได้ แก้ไขด้วยการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ หรือการยอมรับอย่างไม่เต็มใจ การทะเลาะจึงเป็นเหมือนสัญญาณที่ดีว่าคุณต้องมองความแตกต่างอย่างลึกซึ้ง เพื่อการยอมรับอย่างเข้าใจ และนี่คือเรื่องดีๆ ของการตบตีทางอารมณ์



 

1. ประเมินก่อนว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณและคนใกล้ตัวคนนั้นอยู่ในระดับไหน มันจำเป็นหรือไม่ที่ต้องแสดงความขัดแย้ง สิ่งสำคัญคือยิ่งคุณใกล้ชิดกับเขาแค่ไหน และยิ่งรู้สึกได้ถึงความจริงใจที่ผูกพัน นั่นยิ่งจำเป็นจะต้องมีเรื่องทะเลาะด้วย เพราะผลของมันจะไม่เลวร้ายอย่างที่คิด และทั้งสองฝ่ายยังมีกาวใจที่จะประสานติดกันได้ในอนาคต แต่ถ้าพวกคุณไม่สนิทสนมกัน และไม่ได้ต้องการความเข้าใจอะไรมากมาย เพราะต่างไม่มีผลสะท้อนต่อชีวิตของกันและกันเท่าไหร่ ก็อย่าพยายามสร้างความขัดแย้งเลย เพราะนอกจากจะไม่มีผลดีแล้ว ยังส่งผลเสียอีกเพียบ


2. เมื่อคุณรู้สึกหงุดหงิด เสียใจ หรือน้อยใจในสิ่งที่คนใกล้ตัวทำ ทางที่ดีควรเลือกเวลาและสถานการณ์ที่ไม่เคร่งเครียด และต่างมีสติสัมปชัญญะ อย่าอาศัยเครื่องดื่มมึนเมาย้อมใจ หรือให้บรรยากาศพาไปมาทำเสียเรื่องเด็ดขาด เพราะผลของมันอาจรุนแรงจะลืมประเด็น หลุดเหตุผล จนกลายเป็นการเอาชนะแบบโง่ๆ หาโอกาสได้แล้วก็ค่อยๆ เกริ่นแล้วตรงสู่ปัญหาทันที

 

3. อย่าบอกว่าสิ่งที่เขาทำมันไม่ดีตรงไหนอย่างไร ในแง่ทั่วไป แต่พูดถึงผลกระทบทางอารมณ์ของคุณดีกว่า ว่ามันทำให้คุณรู้สึกอึดอัด ไม่มีความสุขอย่างไร


4. แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่จะปกป้องตัวเองจากการกล่าวหาด้วยเหตุผลร้อยแปด และยิ่งเขาปกป้อง เราในฐานะโจทก์ก็ยิ่งหมั่นไส้ หรืออยากจะโต้กลับไปมากพอกัน ถ้าคุณกำลังรู้สึกอย่างนั้น อย่าทำ คิดเสียว่า พูดทีหลังดังกว่า เพราะฉะนั้น ลองสงบใจฟังทุกสิ่งที่เขาพูดอย่างตั้งใจ และพยายามทำความเข้าใจในเหตุผลของเขา ซึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่จงฟัง ฟัง ฟัง และฟังไปพร้อมกับคิดตาม ว่าตัวเองเป็นเขาก่อน จากนั้นค่อยใช้ความเข้าใจนั้นเป็นประเด็นสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน


5.การแก้ปัญหาที่หวังผลมากที่สุดคือ ลบสิ่งที่เป็นปัญหาทิ้งได้หมดจด แต่บ่อยครั้งที่ผลอาจไม่เลิศเลอขนาดนั้น เพราะมันอาจนำไปสู่ผลระดับรองลงมา เช่น ปัญหาลดลงบางส่วน หรือคุณเข้าใจถึงรากโคนปัญหาที่แก้ไม่ได้จึงไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาอีก หรืออาจนำไปสู่การไม่ใส่ใจอย่างมีเหตุมีผล ดังนั้นอย่าสนใจที่ผลสุดท้าย แต่สนใจที่คุณได้ยอมรับมันอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เมื่อตระหนักในข้อนี้แล้ว ควรเริ่มจากการพยายามอธิบายถึงสิ่งที่เป็นปัญหาของคุณอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยเสียงราบเรียบ ควบคุมสถานการณ์ทางอารมณ์ให้คงที่ และหาแนวทางความร่วมมือจากเขา แล้วคุณจะรู้แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง


6.ในกรณีที่เกิดสิ่งเหนือการควบคุม คุณและเขาทะเลาะกันรุนแรง อย่าตกใจ ให้กลับไปนั่งคิดนอนคิดหรือหาเพื่อน ผู้ใหญ่ที่รอบคอบ ถกถามปัญหา และทางออก จากนั้นนำทั้งหมดมาคิดให้ตกผลึกอีกครั้งเพื่อนำมาคุยกันใหม่ และการเริ่มต้นที่ดีหลังความแตกร้าวคือ การพูดถึงความทุกข์ใจหลังการทะเลาะของตัวเอง สิ่งที่คุณได้สำนึก และค่อยนำมาสู่วิธีการรอมชอมความขัดแย้งร่วมกัน

 

การเอาชนะ และการทะเลาะ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวในความสัมพันธ์ ดังนั้นอย่ากลัวการเผชิญมันด้วยความจริงที่จะมีกันและกันในอนาคตต่างหาก คือสิ่งที่ควรตระหนัก และเชื่อเถอะว่า ในคนที่รักกันและอยากมีกันและกัน พวกเขาจะให้โอกาสตัวเองและคู่กรณีเสมอ คุณเพียงแค่รู้จักลดทิฐิ และคิดหาวิธีสานสัมพันธภาพเท่านั้น

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook