แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะฉะนั้น ก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่ควรวางแผนไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอให้ดีจะได้ช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคต่างๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ได้

สำหรับอาการครรภ์เป็นพิษรุนแรงในช่วงไตรมาสที่ 3 นั้นหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และพบคุณหมอเพื่อติดตามอาการอยู่เป็นประจำก็จะปลอดภัยทั้งแม่และลูกแน่นอน ว่าแต่อาการครรภ์เป็นพิษเป็นอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณแม่มาทำความรู้จักดังนี้ค่ะ

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

อาการครรภ์เป็นพิษเป็นอย่างไร

อาการครรภ์เป็นพิษนั้นจะมีอาการจุกที่บริเวณใต้ลิ้นปี่ หายใจไม่ออก ปวดหัว อ่อนเพลีย ตามัว คลื่นไส้ และอาเจียน นี่เป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่าคุณแม่นั้นมีอาการครรภ์เป็นพิษรุนแรง

สาเหตุเกิดจากอะไร

ครรภ์เป็นพิษนั้นเกิดจากการฝังตัวของรกที่ไม่ดีจึงทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงถุงการครรภ์ไหลเวียนไม่ดี มีการทำงานที่ปกติจึงมีผลส่งให้เซลล์บริเวณที่เกิดการฝังตัวมีภาวะขาดออกซิเจน และมีการหลั่งสารกระตุ้นผิดปกติของร่างกายออกมาด้วยจนทำให้เกิดอาการครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงได้

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

อาการครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง

คุณแม่จะมีอาการความดันที่สูงถึง 160/110 มิลลิเมตรปรอท หรือไม่ก็อาจจะมีลักษณะที่บ่งชี้ต่างของการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างๆ นั่นเอง อย่างเช่น ค่าการทำงานของตับ และการทำงานของไตที่ผิดปกติ อีกทั้งยังมีอาการทางระบบประสาทด้วย หรือน้ำท่วมปอด คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะมีอาการปวดหัวมาก ความดันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย หน้ามืด ตามัว จุกใต้ลิ้นปี่จนหายใจไม่ออก แต่ถ้ามีอาการชักเกร็งจะเป็นอาการที่รุนแรงมากจึงต้องยุติการตั้งครรภ์ในทันที เพราะโอกาสเสียชีวิตทั้งแม่และลูกนั้นสูงมาก แต่โอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษแบบนี้จะน้อยกว่าการเกิดครรภ์เป็นพิษธรรมดาและครรภ์เป็นพิษรุนแรงทั่วไป

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงเสี่ยงเป็นตอนไหน

สามารถเกิดได้ตั้งแต่ท้องแรกและท้องสอง โดยจะพบมากที่สุดในคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สามเป็นต้นไป หรือไม่ก็จะพบในแม่ที่อายุน้อยและมากจนเกินไป รวมถึงคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัว อย่างโรคไต เบาหวาน และความดัน เป็นต้น

การป้องกันครรภ์เป็นพิษด้วยการดูแลตัวเอง

1. หากมีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ไม่ควรตั้งครรภ์ควรคุมกำเนิดเสียก่อน

2. ควรตั้งครรภ์เมื่อพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ

3. ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องและรีบพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ

แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง
แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง! ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง

4. ควบคุมการกินอาหารเลือกทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และเด็ก

5. ระวังเรื่องของความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในคุณแม่ที่มีอายุมากเพื่อป้องกันครรภ์เป็นพิษ

แม้อาการครรภ์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าคุณแม่ใส่ใจต่อสุขภาพฝากครรภ์และตรวจพบก่อนคุณหมอก็จะดูแลอย่างใกล้ชิดและจะปลอดภัยทั้งแม่และลูกอย่างแน่นอนค่ะ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook