วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับเด็กทารกในวัยแรกเกิดนั้น แม้จะมีคำกล่าวติดปากกันว่าลืมตาออกมาดูโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวตั้งแต่วินาทีแรกที่เขากำเนิด ซึ่งจะแตกต่างจากพัฒนาการทางการได้ยิน ที่มีจนสมบูรณ์แล้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา สำหรับการมองเห็นของเด็กทารกนั้นจะต้องใช้เวลา 6-8 เดือนในการพัฒนาความสามารถในการมองเห็นได้เหมือนกับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ค่ะ วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ ในการช่วยเสริมสร้างการมองเห็นให้กับลูกน้อยมาฝากกันค่ะ 

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย
วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

ความใกล้ชิด 
จากผลงานวิจัยหลายๆ ชิ้นพบว่าทารกในวัยแรกเกิดนั้นมักจะชื่นชอบใบหน้าของมนุษย์มากกว่ารูปภาพหรือสิ่งอื่นใด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใช้โอกาสนี้คุ้มค่า ด้วยการอุ้มลูกน้อยเอาไว้ในอก และก้มหน้าลงไปคุยกับเจ้าตัวน้อยใกล้ๆ สบตากับลูกบ่อยๆ จนกระทั่งอายุครบ 1 เดือน สิ่งต่างๆ ที่ผ่านหน้าของเจ้าตัวน้อยก็จะได้รับความสนใจไปเสียหมด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการ หรือของใช้ใกล้ตัวที่มีสีสันสดใส ก็จะช่วยส่งเสริมการมองเห็นได้ไม่ต่างกันค่ะ

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย
วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

การเคลื่อนไหว 
ของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊งขยับได้ หรือของเล่นสีสันสดๆ ที่แกว่งไปมาผ่านใบหน้าของเจ้าตัวน้อยนั้น จะทำให้เขามองตามและเกิดความอยากรู้อยากเห็นอยากสัมผัสจนกลายเป็นพัฒนาการที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ สำหรับหนูน้อยในวัย 3 เดือนขึ้นไปนั้น ให้คุณลองขยับของเล่นไปมาเพื่อเล่นกับเขา เพราะเด็กในวัยนี้จะสามารถมองตามในแนวดิ่งได้แล้ว

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย
วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

เล่นกับสีสัน 
ในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย สีที่ตัดกันอย่างเช่นสีขาวกับสีดำ จะทำให้เขาสนใจได้มากกว่าสีอื่นๆ ค่ะ หลังจากนั้นคุณค่อยหาโมบายสีสันสดใส หรือรูปภาพสีสวยๆ มาให้ลูกดู และในขณะที่ดูนั้นก็ชี้พร้อมทั้งออกเสียงเรียกสีนั้นๆ ไปด้วย สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงส่งเสริมการมองเห็นให้กับลูกน้อย แต่ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อีกด้วยค่ะ

วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย
วิธีเสริมสร้างการมองเห็นให้ลูกน้อย

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสายตาของลูกน้อย
ซึ่งในการไปพบแพทย์แต่ละครั้งนั้น คุณหมอจะตรวจสายตา และการมองเห็นของลูกด้วย ถ้าหากคุณสังเกตพบความผิดปกติ เหล่านี้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เช่น ลูกอยู่ในวัย 3-4 เดือน ไม่ยอมมองตามวัตถุที่เคลื่อนผ่านตรงหน้า มีปัญหาในการกลอกตาข้างใดข้างหนึ่งหรืออาจจะทั้งสองข้าง ดวงตาไม่สามารถจับจ้องอยู่กับที่ได้ ตาดำของลูกเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือเป็นสีขาว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าลักษณะทางกายภาพของดวงตาเจ้าตัวน้อยจะพร้อมสำหรับการมองเห็นในสิ่งต่างๆ เมื่อแรกเกิด แต่สมองก็ยังไม่พร้อมที่จะประมวลภาพได้ ดังนั้น ลูกน้อยของคุณจะสามารถมองเห็นและจดจำข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อสมองของลูกน้อยมีการพัฒนาไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ประกอบกับความสามารถในการมองเห็นที่ชัดเจนขึ้น หนูน้อยก็จะมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมากขึ้นด้วย แต่ที่แน่ๆ ในช่วงแรกของชีวิตนั้น เจ้าตัวน้อยจะมองเห็นได้เพียงใบหน้าของคุณแม่หรือคนที่อุ้มเขาไว้ในอ้อมกอดเท่านั้นค่ะ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook