อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวๆ คนไหนกำลังเผชิญกับอาการผิดปกติอย่างอาการเวียนหัวแบบไม่ทราบสาเหตุ อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการหน้ามืด เหมือนโลกหมุนจนต้งหยุดทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ตรงหน้าในทันทีทันใด

..บางครั้งพอลุกขึ้นแบบทันทีก็รู้สึกเหมือนจะอาเจียน กระเพาะอาหารปั่นป่วน พะอืดพะอม ไม่สามารถทรงตัวได้ดี จนต้องนั่งลงเพื่อรอให้อาการดีขึ้น ซึ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจจะมาจากภาวะที่เราเรียกกันว่า “โรคมีเนีย” หรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ถือว่าเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นได้บ่อย และผู้ป่วยบางรายก็ไม่รู้ทราบแน่ชัดว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าเกิดขึ้นจากภาวะความดันกันเสียมากกว่า

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ
อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

ความผิดปกติของน้ำภายในช่องหู
โรคมีเนียเกิดขึ้นจากความดันภายในชั้นหูเป็นน้ำที่เรียกกันว่า Endolymph มีปริมาณที่มากกว่าปกติ ส่งผลกระทบไปยังหูชั้นในซึ่งมีหน้าที่ในการรับการได้ยินเสียงและช่วยควบคุมการทรงตัว เกิดเสียงก้องในหู หูดับชั่วขณะ หรือเกิดความผิดปกติในการได้ยินเสียง หรือบางครั้งก็รู้สึกมีอาการแน่นหูขึ้นมาชั่วขณะ

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ
อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง แต่เชื่อกันว่ามีทั้งการเกิดจากผลกระทบของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบของหูชั้นกลาง โรคภูมิแพ้ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ซิฟิลิส หูน้ำหนวก เหยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุทำให้หูเกิดการกระทบกระเทือน ส่วนปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้คือ ความเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาการปวดไมเกรนที่เป็นอยู่แล้ว ล้วนทำให้เกิดภาวะนี้ได้ทั้งสิ้น พบได้มากในคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ไปจนถึงคนที่มีอายุมากแล้วตั้งแต่ 40-70 ปีจะพบได้มากที่สุด

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ
อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

อาการของโรคที่พบโดยทั่วไป
สำหรับอาการของโรคเมื่อเกิดภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน อาการจะเป็นๆ หายๆ คือเริ่มตั้งแต่อาการเวียนศีรษะ อยู่ดีๆ ก็รู้สึกเหมือนบ้านหมุน เกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว จากนั้นจะรู้สึกว่าตัวเองทรงตัวไม่ได้ อาการโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากพักแล้วก็จะค่อยๆ ทุเลาลง บางรายรุนแรงถึงขึ้นมีอาการพะอืดพะอม ปั่นป่วนในท้อง และรู้สึกอยากอาเจียน ผู้ป่วยบางรายมีอาการข้างเคียง อย่างหูอื้อชั่วขณะ การฟังเสียงไม่ค่อยสมบูรณ์ ไม่สามารถทนรับการฟังเสียงดังได้ จนทำให้รู้สึกหงุดหงิดกว่าคนปกติ

อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ
อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามกับภาวะ "น้ำในหูไม่เท่ากัน"

การรักษาโรคนี้ หากพบว่าผู้ป่วยมีปัญหากับภาวะน้ำในหูจริง จะมีการให้ยาร่วมกับการรักษาตัวเองของผู้ป่วยร่วมด้วย กล่าวคือ จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารรสเค็มจัด เหล้า บุหรี่และสารเสพติดทุกชนิด

หากการรักษาด้วยยาในขั้นตอนแรกไม่ได้ผล แพทย์ก็จะตัดสินใจใช้การรักษาที่ซับซ้อนมากกว่าในลำดับถัดไปตามดุลยพินิจและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook