อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!

อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!

อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื้อไวรัสอีโบลาเป็นเชื้อไวรัสมรณะที่หลายคนกำลังหวาดกลัวกันทั่วทุกมุมโลกในขณะนี้กันเลยก็ว่าได้ เพราะกำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทางแอฟริกาตะวันตกจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับกว่า 600 รายและติดเชื้อไปแล้วนับกว่าพันคน เพราะเหตุนี้ เราจึงควรมาทำความรู้จักเชื้อไวรัสอีโบลานี้ไว้ เพื่อไม่เป็นการชะล่าใจก่อนที่เชื้อร้ายดังกล่าวจะแพร่ระบาดมาสู่เมืองไทยอย่างไม่ทันตั้งตัว เป็นอย่างไรนั้นมาดูกันเลยค่ะ

อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!
อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!

สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอีโบลา
เชื้อไวรัสอีโบลาเกิดการระบาดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศซูดานและซาร์อีหรือประเทศคองโกในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2519 แบ่งแยกได้ทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่
1. อีโบลา-ซาร์อี (Ebola-Zaire)
2. อีโบลา-ซูดาน (Ebola-Sudan)
3. อีโบลา-โกตดิวัวร์ (Ebola-Côte d’Ivoire)
4. อีโบลา-เรสตัน (Ebola-Reston)
5. อีโบลา-บันดิบูเกียว (Ebola-Bundibugyo)
สำหรับสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทางแอฟริกาตะวันตกขณะนี้ก็คือ สายพันธุ์อีโบลา-ซารี ซึ่งหากนับจากสถิติผู้ป่วยแล้วพบว่าสายพันธุ์อีโบลา-ซาร์อีเป็นสายพันธุ์รุนแรงที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตมากสูงถึง 80-90%

อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!
อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!

การแพร่เชื้อไวรัสอีโบลา
เชื้อไวรัสอีโบลาสามารถแพร่ได้จากคนสู่คนโดยผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ เลือด ปัสสาวะและอสุจิ นอกจากนี้ ยังติดผ่านสิ่งของต่างๆ รอบตัวได้ด้วย เช่น ปุ่มกดลิฟต์ ลูกบิดประตู ราวจับต่างๆ ตลอดจนกระทั่งสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

อาการของโรคไวรัสอีโบลา
ผู้ที่ติดเชื้อโรคอีโบลาไปแล้วอาการจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าเชื้อจะมีระยะในการฟักตัวประมาณ 2-21 วันก็ตาม โดยอาการป่วยจะประกอบไปด้วยไข้ขึ้น ปวดศีรษะ ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดตามกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดข้อ มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ เจ็บหน้าอก สะอึก ไอ ตาแดง ผื่นขึ้นตัว นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกายได้ด้วย ตลอดจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเลือดออกทางตา จมูก ปากและหู ซึ่งเป็นอาการชี้ชัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคอีโบลาอย่างแท้จริง แต่ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแค่ตาแดง ผื่นขึ้น ไข้ขึ้นและปวดศีรษะบ้างเท่านั้น ซึ่งหากแพทย์วินิจฉัยก็อาจจะยังไม่สามารถตรวจพบเจอโรคอีโบลาได้ชัดเจนแม่นยำได้นักหรืออาจจะเกิดการไขว้เขว เพราะอาการดังกล่าวย่อมสันนิษฐานได้ว่าอาจป่วยเป็นโรคอื่นๆ ด้วยได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น.. จึงต้องเฝ้าหมั่นสังเกตอาการเป็นระยะต่อเนื่องและรอผลการตรวจจนแม่นยำอีกครั้ง

อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!
อีโบลา (Ebola) เชื้อไวรัสมรณะที่ไม่ควรมองข้าม!

วิธีรักษาโรคอีโบลา
ในปัจจุบันยังไม่มีตัวยารักษาหรือแม้แต่วัคซีนฉีดป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลาโดยตรง แพทย์จะให้การรักษาผู้ป่วยไปตามอาการเท่านั้น ตั้งแต่ควบคุมรักษาระดับของเหลวและอิเล็กโตรไลท์ภายในร่างกายให้สมดุล ควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือดและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อนั้นมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและติดแล้วมีสิทธิ์เสี่ยงตายสูงมาก แต่สำหรับประเทศไทยยังนับว่ามีโอกาสเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อต่ำ หากอย่างไรแล้ว การทำความเข้าใจเรื่องที่มาที่ไปของเชื้อไวรัสอีโบลาไว้ก่อนก็ย่อมเป็นสิ่งดี เพื่อที่เราจะได้ทันระแวดระวังและดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยก่อนโรคร้ายมาถึงตัวได้ตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook