โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ

โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ

โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคไตคือ โรคอะไรก็ตามที่มีความผิดปกติแล้วเกิดที่บริเวณไต ซึ่งได้แก่ โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ, โรคไตวายเรื้อรังที่เกิดตามหลังโรคเบาหวาน, โรคไตอักเสบเนโฟรติก, โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน, โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือแม้แต่โรคถุงน้ำที่ไต ก็ล้วนเป็นโรคที่เราเรียกว่าโรคไต

โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ
โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ

อาการของโรคไตสังเกตได้ดังนี้
1. ปัสสาวะเป็นเลือด โดยเวลาปัสสาวะออกมาจะมีเลือดสดหรือเลือดเป็นลิ่มๆ ออกมาพร้อมกันด้วย
2. ปัสสาวะเป็นสีแดงซึ่งเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือสีชาแก่ๆ หรือบางทีอาจจะเป็นปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
3. ปัสสาวะเป็นฟองมากซึ่งจะมีฟองสีขาวๆ เหมือนฟองสบู่ออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ
4. เกิดการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ่ายปัสสาวะบ่อย, ถ่ายปัสสาวะแสบ หรือแม้แต่ปัสสาวะราด ก็ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
5. มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการมีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีกรวยทราย
6. มีอาการปวดหลังอาจจะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดบริเวณไตในบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
7. มีอาการบวมในบริเวณหนังตาหรือหน้าในตอนเช้า ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั้งตัว

โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ
โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไต
- เป็นมาแต่กำเนิด เช่น มีไตข้างเดียวหรือมีไตขนาดไม่เท่ากันซึ่งถือเป็นกรรมพันธุ์ด้วย
- เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่
- เกิดจากการอักเสบ
- เกิดจากการอุดตัน

เมื่อทราบถึงอาการและสาเหตุของโรคไตกันไปแล้ว ต่อไปลองมาดูถึงวิธีการรักษากันบ้าง ซึ่งคำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคไตมีดังนี้
1. เลือกกินอาหารที่เป็นโปรตีนต่ำ หากทานเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนก็ไม่ควรทานชนิดที่มีหนังหรือติดมัน เพราะจะได้ไม่รบกวนการทำงานของไตให้พลอยทำงานหนักด้วย
2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยที่ต้องควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน

โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ
โรคไต รู้จักไว้เพื่อสุขภาพดีอยู่คู่เราไปนานๆ

3. ลดการบริโภคเกลือ โดยควรบริโภคในปริมาณที่น้อยลง ปริมาณแนะนำต่อวันคือ 6 กรัมเท่านั้นพอหรือปริมาณเพียง 1/2 ช้อนชา
4. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เพราะอาหารจำพวกนี้จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรังให้รุนแรงมากขึ้น

คุณจะเห็นแล้วว่าสำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้น การเลือกรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกาย เพราะโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มักเกิดมาจากการกินของเรานั่นเอง ดังนั้น หากเราควบคุมการกินได้เป็นอย่างดี การมีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคก็ย่อมเป็นของเราแน่นอนค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook