น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา ต่างกันอย่างไร?

น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา ต่างกันอย่างไร?

น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา ต่างกันอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

น้ำมันปลา (Fish Oil) คืออะไร ?
น้ำมันปลา คือน้ำมันที่สกัดจาก เนื้อ หัว หาง และหนังของปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาทูน่า เป็นต้น น้ำมันปลายังเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัวที่ เรียกว่า โอเมก้า 3 (Omega 3 ) ประกอบไปด้วย อีพีเอ (EPA) และ ดีแอชเอ (DHA) ซึ่ง มีประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ บำรุงสมองและสายตา

ต่างจากน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) อย่างไร ?
น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่ได้จากตับปลาทะเล เป็นแหล่งที่ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวพรรณ และวิตามินดี ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก หากรับประทานมากเกินขนาด อาจเกิดพิษจากการสะสมของวิตามินเอและดีซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในร่างกายส่วนที่เป็นไขมัน

น้ำมันปลา
1. สกัดได้จากเนื้อ หัว หางและของปลาทะเล
2. เป็นแหล่งที่ให้กรดไขมันจำเป็น โอเมก้า 3
3. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง

น้ำมันตับปลา
1. สกัดจากตับปลาทะเล
2. เป็นแหล่งที่ให้วิตามินเอและดี
3. บำรุงร่างกายทั่วไป


ทำไมจึงต้องทานน้ำมันปลา
โดยทั่วไปแล้ว ในกระแสเลือดของคนเราจะมีไขมันชนิดต่างๆ จำพวก โคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์อยู่ในภาวะสมดุล แต่เมื่อใดก็ตามที่ความสมดุลนั้นเสียไป ก็อาจส่งผลร้ายต่อระบบหลอดเดลอืหัวใจได้เช่นกัน

 

ค่าระดับโคเลสเตอรอลประเภทต่างๆ และไตรกลีเซอไรด์ที่ปลอดภัย

โคเลสเตอรอลรวม น้อยกว่า 200 มก./ดล.                 แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 130 มก./ดล.

เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล มากกว่า 40 มก./ดล.         ไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 150 มก./ดล.

*เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) คือไขมันชนิดดี

 


ระดับไขมันในเลือดมีความสัมพันธ์กับอายุ โรคบางอย่าง และการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงจำพวกอาหารขยะ (Junk Food) ของทอดโดยเฉพาะที่ทอดด้วยน้ำมันหมู (น้ำมันหมูแหล่งกรดไขมันชนิดอิ่มตัว) ล้วนแล้วแต่นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดตีบและแข็งตัว  (Atherosclerosis) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือภาวะเส้นเลือดแตกในสมองได้

น้ำมันปลากับการบำรุงสมอง
เนื่องจากดีเอชเอ (DHA) เป็นส่วนประกอบหนึ่งของเนื้อเยื่อสมอง น้ำมันปลาจึงมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมองหรือแม้แต่การสร้างสารสื่อนำประสาทในสมอง

น้ำมันปลากับโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีหลักฐานบันทึกว่า ชาวเอสกิโมที่อาศัยอยู่ในแถบหมู่เกาะกรีนแลนด์มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหัวใจและข้ออักเสบต่ำ ทั้งๆ ที่กลุ่มคนเหล้านี้มีการบริโภคไขมันปลาในปริมาณสูง ภายหลังมมีการค้นพบว่าไขมันปลาที่ชาวเอสกิโมบริโภคอยู่นั้นประกอบไปด้วย โอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิต

น้ำมันปลากับโรครูมาตอยด์ (โรคข้ออักเสบ)
อีพีเอ (EPA) จากโอเมก้า 3 (Omega 3) มีผลในการลดการอักเสบที่เกิดจากสารก่ออักเสบในร่างกาย ซึ่งจะพบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาตอยด์

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook