รู้จักกับ "ข้าวยั้ว" ขนมหวานชาวม้ง ที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา

รู้จักกับ "ข้าวยั้ว" ขนมหวานชาวม้ง ที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา

รู้จักกับ "ข้าวยั้ว" ขนมหวานชาวม้ง ที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครั้งก่อนได้แนะนำข้าวจี่เชียงคานไปแล้ว ครั้งนี้จิงยังมีอาหารอีกอย่างที่บังเอิญได้รู้จักตอนขึ้นดอยไปทำกิจกรรมที่ รร. แห่งหนึ่งใกล้กับภูทับเบิก และเป็นอาหารที่ไม่เคยเห็นหรือได้ยินมาก่อนด้วย ทำให้งงหนักมากว่านี่คืออะไร เพราะห่อด้วยใบตองเรียงซ้อนกันมาหลายชิ้น พอถามดูถึงได้รู้ว่าเป็น "ข้าวยั้ว" ที่ชาวม้งทำมาฝากคุณครูที่ รร. นั่นเอง (โอ้ววว ตื่นเต้นๆๆ ><)

"ข้าวยั้ว" คือ การเอาข้าวเหนียวทั้งสีขาวและสีดำที่หุงสุกใหม่มาบดให้ละเอียด ห่อด้วยใบตองแล้วกดให้แบน ทำให้มีทั้งข้าวยั้วสีขาวและสีดำ (พอดมดูจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆจากใบตองและข้าว โดยเฉพาะข้าวเหนียวดำจะยิ่งหอมเป็นพิเศษ ><) เวลากินก็เอาไปย่างให้ร้อน แล้วโรยน้ำตาลอ้อยป่น  เป็นขนมหวานของชาวม้งที่นิยมกินกันมาก
และที่บอกว่าเรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา เพราะตอนเห็นแล้วนึกถึง "โมจิย่าง" หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า "คิริโมจิ" (Kirimochi) ของญี่ปุ่น ที่ก็เอาข้าวเหนียวหุงใหม่มาโขลกจนเหนียวนุ่ม จากนั้นอัดใส่พิมพ์สี่เหลี่ยม พักให้เย็น แล้วเอาออกจากพิมพ์มาตัดเป็นชิ้นตามต้องการ พอจะกินก็เอามาย่าง เสิร์ฟคู่กับสาหร่ายและโชยุ หรือจะทำเป็นซุปปีใหม่ที่เรียกว่า "โอโซนิ" (Ozoni) หรือทำเป็นของหวานคู่กับซุปถั่วแดงร้อนๆ ที่เรียกว่า "เซ็นไซ" (Zenzai) ก็ได้เช่นกัน 
ปกติจิงชอบกินข้าวปิ้งหรือข้าวที่เนื้อสัมผัสหนุบๆ อยู่แล้ว คราวนี้เลยดีใจมากที่ได้รู้จักกับ "ข้าวยั้ว" ซึ่งถ้าไม่ได้มาไกลถึงนี่ก็คงไม่มีโอกาสได้รู้จัก แถมพอได้ชิมแล้วรสชาติแทบไม่ต่างกับ "คิริโมจิ" ของญี่ปุ่นเลย
>>> ยังนึกในใจว่าอาหารคือสิ่งมหัศจรรย์จริงๆ เพราะต่อให้อยู่ไกลแค่ไหน ขอแค่มี "วัตถุดิบ" ที่เหมือนกัน ก็สามารถทำอาหารที่คล้ายคลึงกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ><~
ข้าวยั้วก่อนปิ้งจะหน้าตาเป็นแบบนี้คือแบนๆ ขนาดเท่าฝ่ามือใหญ่ๆ
(ลองตัดที่เป็นข้าวเหนียวดำดูด้วยค่ะ เป็นข้าวล้วนๆเลย //แล้วจะตัดทำไมเนี่ย  5555 )
kawyoue 01
จากนั้นก็เอาไปปิ้งไฟอ่อนพร้อมใบตอง แต่ต้องปิ้งแบบใจเย็นนะคะ ข้าวจะได้กเกรียมทั่วทั้งชิ้น
(กลิ่นหอมจากใบตองทำเอาน้ำลายจะไหล 55555)
ใช้เวลานานนิดนุงนะคะ ประมาณ 15 นาที อิอิ
พอปิ้งเสร็จ
สังเกตดูข้าวจะพองตัวขึ้นเล็กน้อย ><
kawyoue 02
พอแกะออกจะเห็นว่าสีหรือลักษณะความพองใกล้เคียงกับโมจิย่างมากกกกกก
kawyoue 03
ยิ่งตอนยืดอย่าได้พูดถึงค่ะ เหนียวหนืด ได้ดังใจมากๆ เหมือนกับโมจิย่างจริงๆ 
แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นเป็นเมล็ดข้าวอยู่ด้วย ทำให้เกิดความแตกต่างกับโมจินิดหน่อย ^^
kawyoue 04
วันนั้นเสียดายอย่างเดียวคือไม่มีน้ำตาลอ้อย จิงเลยชิมแบบเปล่าๆ เคี้ยวหนุบๆ เพลินไปอีกแบบ อิอิ
"น้ำตาลอ้อย" ในที่นี้หมายถึงน้ำตาลที่เคี่ยวจากน้ำอ้อย แล้วเอามาอัดและตัดให้เป็นท่อนสั้นคล้ายอ้อยที่หั่นแล้ว เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า "sugar cane" แต่ก็มีที่เป็นแว่นบางทั้งเล็กและใหญ่ด้วย (ขึ้นอยู่ว่าต้องการรูปทรงแบบไหน) ซึ่งปกติน้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลเกล็ดทั่วไปก็ทำมาจากอ้อย แต่ถ้าเป็นน้ำตาลอ้อยแบบนี้จะให้ความหอมหวานมากกว่า เพราะผ่านขบวนการน้อยกว่า นิยมใช้ทำขนมไทยหรืออาหารคาวที่ต้องการกลิ่นหอมเป็นพิเศษ รวมถึงเป็นขนมหวานกินเล่นของประเทศลาวอีกด้วย ^^

ขอบคุณภาพจาก : https://kanomwhannaiasean.wordpress.com/events-list/30-2/

10960223_803221539727311_964922514453309661_o

ใครอยากลองทำ "ข้าวยั้ว" ก็ทำได้ไม่ยากเลยค่ะ แค่แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชม.
เอาไปนึ่งให้สุก แล้วโขลกหรือบดตอนร้อนๆ (ห้ามทิ้งไว้ให้เย็นเด็ดขาดนะคะ เดี๋ยวจะแข็งจนโขลกไม่ได้) พักไว้แป๊บนึงให้คลายร้อน แล้วค่อยเอามาห่อใบตองและกดให้แบน เวลาทานก็เอามาปิ้งแล้วเสิร์ฟคู่กับน้ำตาลอ้อยป่น (ถ้าไม่มีใช้น้ำตาลทรายแดงได้) หรือจะประยุกต์เอาข้าวยั้วมาใช้แทนโมจิย่างก็ได้ เพราะวิธีทำคล้ายกันมาก ><

สำหรับวันนี้ขอตัวไปเตรียมจัดงานปีใหม่ก่อนนะคะ ใกล้เทศกาลแบบนี้แน่นอนว่าของกินต้องตรึมแน่ๆ 5555
ปล. แอบกระซิบนิดนึงว่าเตรียมสูตรหมักหมูนุ่มไว้ทำสุกี้หรือหมูกระทะด้วยค่ะ
เพื่อนคนไหนกำลังคิดจะจัดปาร์ตี้สุกี้หรือหมูกระทะร้อนฉ่าาาาา~ ก็เตรียมจดสูตรกันได้เลยนะค้าาา อิอิ
สำหรับวันนี้ไปแล้วค่าา บ๊ายบายยยยย ><

ใครมีเรื่องราวดีๆ อยากแนะนำหรือพูดคุยเพิ่มเติม ก็ทักทายกันมาได้ที่

Jingerbreadsanook@gmail.com

หรือพูดคุยกันทางเฟซบุ๊ก Jingerbread ได้เลยค่าาา ><

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook