8 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

8 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

8 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็ก เล็กมีภูมิต้านทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ ฉะนั้น เรื่องสุขภาพร่างกายของลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริม สร้างความแข็งแรงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีต่อไปนี้ค่ะ


1. กินนมแม่
สารอาหารต้นทุน ที่สำคัญและดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ก็คือนมแม่ ที่นอกจากไม่เสียเงินทองแล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องภูมิต้านทาน เพราะทารกช่วงแรกเกิด-1 ปี ระบบการพัฒนาภูมิคุ้มกันอาจยังไม่สมบูรณ์ โอกาสการติดเชื้อโรคเกิดได้ง่ายกว่าเด็กโต การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วย การแพ้นมวัว และเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างแม่ลูก

2. อาหารเสริม
ลูกน้อยมีพัฒนาการ การเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเคลื่อนไหวมากขึ้นตามช่วงวัย จึงควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต ได้กินอาหารครบ 5 หมู่และหลากหลาย (ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง) เพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงรสชาติ ลักษณะอาหารที่ต่างจากนมแม่ และฝึกทักษะเรื่องการกินอาหารที่เหมาะสม

3. สร้างภูมคุ้มกันด้วยวัคซีน
การฉีดวัคซีน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เตรียมร่างกายให้พร้อมต่อการต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเบื้องต้นตามที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนด ส่วนวัคซีนทางเลือกนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สุขภาพของลูก และความต้องของคุณพ่อคุณแม่

4. สุขอนามัยที่ดี
ความสะอาด เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย คุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่นทุกชนิด ที่ลูกสัมผัสอยู่เสมอ เพื่อกำจัดและป้องกันเชื้อโรค ซึ่งรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ที่ควรดูแลรักษาความสะอาดและสุขอนามัยส่วนตัว เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม เข้าห้องน้ำ เป็นต้น

5. ใส่ใจสภาพแวดล้อม
ช่วง ที่อากาศเปลี่ยนแปลง บางครั้งก็ทำให้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่ ไม่สบายเนื้อสบายตัว ออกอาการโยเยได้ คุณจึงควรเตรียมพร้อม หาทางรับมือ ป้องกันปัญหาเรื่องสุขภาพลูก ในแต่ละช่วงฤดูกาลไว้ก่อน เช่น ช่วงหน้าฝนควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุม ให้ความอบอุ่นแก่ลูก ส่วนหน้าร้อน ก็ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนเกินไป ใส่เสื้อผ้าบางๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ

6. นอนหลับเพียงพอ
ในช่วงที่ลูกนอนหลับสนิท ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormones ออกมา ซึ่งทำให้ร่างกายลูกน้อยเจริญเติบโตตามปกติ และขณะที่ลูกน้อยหลับ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้ ฉะนั้น การสร้างบรรยากาศภายในห้องนอนที่เหมาะสม ไม่รบกวนการนอนของลูก ก็มีส่วนช่วยต้านโรคเช่นกัน

7. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายของเด็กวัยนี้ อาจจะยังไม่มีรูปแบบชัดเจนนัก ถ้าเด็กคนไหนแอคทีฟ เคลื่อนไหวบ่อย ก็เท่ากับเป็นการออกกำลังทางหนึ่ง แต่ถ้าเด็กคนไหนเจ้าเนื้อ อาจจะไม่ค่อยชอบเคลื่อนไหวเท่าใดนัก ให้คุณพ่อคุณแม่คอยกระตุ้นด้วยการเล่นกับลูก หลอกล่อให้ลูกอยากจะคว่ำ คลาน เดิน ตามช่วงพัฒนาการ เพื่อให้ลูกออกกำลังแขน ขา เกิดการเคลื่อนไหวร่างกาย สร้างความกระฉับกระเฉง ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย ทำให้ลูกน้อยอารมณ์ดีและแข็งแรง

8. เสริมวัคซีนทางใจ
ข้อนี้ยกให้เป็นเรื่องปฏิบัติของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ด้วยการเตรียมจิตใจ อารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ เพราะอารมณ์ และจิตใจของคุณส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อย ยิ่งคุณอารมณ์ดี มีความสุขกับการเลี้ยงลูก ก็เท่ากับคุณได้สร้างความสุข เสริมภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูกน้อยแล้วค่ะ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook