ไขมันอันตราย

ไขมันอันตราย

ไขมันอันตราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราสามารถตรวจหาค่าไขมันในเลือดได้จากการเจาะเลือด เช่น คลอเรสตอรอล ไตรกรีเซอร์ไรด์ ส่วนไขมันส่วนเกินตามร่างกายนั้นเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ ผู้ชายอ้วนมักมีรูปร่างแบบ "แอปเปิ้ล" คือ อ้วนพุงกาง ในขณะที่ผู้หญิงอ้วนมักมีรูปร่างแบบ "ลูกแพร์" คือ อ้วนที่สะโพก ก้นและต้นขา (แต่ผู้หญิงบางคนอาจอ้วนแบบแอปเปิ้ลก็ได้)

ทั้งนี้คนอ้วนส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ชายอ้วนลงพุงมักมีความเสี่ยงสูงกับโรคต่างๆ ดังกล่าวมากกว่าผู้หญิงอ้วน

 

Health Tips จากนักโภชนาการ คุณแววตา เอกชาวนา
การทราบอัตราการเผาผลาญพลังงานของตนเองจะทำให้ทราบว่าใน 1 วัน เราต้องเผาผลาญพลังงานออกไปเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้พลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมากเกินไปสะสมเป็นไขมันในร่างกายในปริมาณที่สูงกว่าปกติ

โดยทั่วไปแล้วคนทำงานออฟฟิศออกกำลังกายน้อย จะใช้พลังงานขั้นพื้นฐาน (BMR) ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น ผู้หญิงประมาณ 1200 คูณด้วย 1.4 นั่นหมายความว่า ใน 1 วันร่างกายต้องการอาหาร 1680 kcal โดยเราสามารถประเมินแคลอรี่ได้ง่ายๆ ด้วยสายตา นั่นคือการหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น อาหารทอดด้วยน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันให้พลังงานสูง (ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่)

 


ตัวอย่างง่ายๆ คือ ไข่เจียว 1 ฟอง ให้พลังงานมากกว่าไข่ต้ม 3 เท่า หรือถ้ารับประทานอาหารที่มีไขมันก็ควรรับประทานคู่กับผักซึ่งมีเส้นใยอาหารในการช่วยลดการดูดซึมของไขมันที่จะเข้าสู่ร่างกาย อีกนัยหนึ่งหากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน ควรทำกิจกรรม ให้มากขึ้นเช่นการออกกำลังกาย ก็จะช่วยควบคุมน้ำหนักและปริมาณไขมันไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ หรือสามารถช่วยลดน้ำหนักลงได้

 

"แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าในร่างกายของแต่ละคนมีไขมันมากน้อยเพียงไร"
ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ TANITA จากประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถตรวจวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ไขมันและองค์ประกอบต่างๆ ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นมวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ เปอร์เซ็นต์น้ำ และอัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐานของแต่ละบุคคล (BMR) ได้ภายใน 30 วินาที ใช้หลักการ BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) ที่ผ่านกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มานานกว่า 20 ปี ด้วยระบบการตรวจหาความสัมพันธ์ของเพศ อายุ น้ำหนัก และส่วนสูง ร่วมกับค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook