10 วิธีสร้าง "เด็กฉลาด" แบบมีวิทยาศาสตร์รองรับ

10 วิธีสร้าง "เด็กฉลาด" แบบมีวิทยาศาสตร์รองรับ

10 วิธีสร้าง "เด็กฉลาด" แบบมีวิทยาศาสตร์รองรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการที่ลูกๆ เรียนเก่งและเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต พ่อแม่ก็เลยต้องสรรหาวิธีการต่างๆ มาส่งเสริมทักษะให้ลูก บางอย่างก็ได้ผล บางอย่างก็เหมือนจะไม่โอเค ดังนั้น NoozUP ก็ขอเป็นผู้ช่วยของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ในการคัดเลือก 10 วิธีสร้างเด็กฉลาด แบบมีวิทยาศาสตร์รองรับ ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกไปประยุกต์ใช้กับลูกๆ ได้เลย

1. เรียนดนตรี
เหตุผลง่ายๆ คือ ดนตรีทำให้เด็กฉลาดขึ้น งานวิจัยเผยว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มเรียนดนตรีจะมีระดับไอคิวที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี แม้ว่าผลที่เกิดขึ้นจะเล็กน้อย แต่เมื่อวัดจากคะแนนสอบต่างๆ แล้ว ก็ถือว่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จด้านวิชาการ แถมการฝึกเล่นดนตรียังเป็นประโยชน์ต่อคนทุกวัยด้วย

2. เด็ก “โตแต่ตัว” ไม่มีอยู่จริง
เด็กที่เล่นกีฬาจนร่างกายบึกบึน ที่จริงแล้วไม่ใช่เด็กโง่ เพียงแต่สนุกกับการเล่นกีฬามากกว่านั่งอ่านหนังสือ แต่ถ้าจะให้ดี ก็ต้องเก่งทั้งสองอย่าง จริงไหมล่ะ? ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ภูมิใจได้เลย เพราะว่าการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียน จากการวิจัยที่ระบุว่าหลังจากออกกำลังกาย เด็กจะจดจำคำศัพท์ใหม่ได้เร็วขึ้นถึง 20% นอกจากนี้ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองส่วนความจำและการเรียนรู้ถึง 30% ด้วย

3. อ่านหนังสือกับลูก ไม่ใช่อ่านให้ลูกฟัง
เด็กฉลาดจำเป็นต้องมีทักษะในการอ่าน แต่พ่อแม่จะต้องอ่านหนังสือพร้อมไปกับคุณลูก ไม่ใช่นั่งอ่านให้ลูกฟังโดยที่ลูกไม่ได้มองหนังสือเลย นอกจากนี้ การแบ่งหนังสือกันอ่านยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้เบื้องต้นให้กับเด็กที่เรียนอ่อนด้วย

4. การอดนอนทำให้เด็กโง่
การสูญเสียเวลานอนเพียง 1 ชม. ก็เท่ากับสูญเสียเวลาการเติบโตทางสติปัญญาและพัฒนาการไปถึง 2 ปี โดยจากข้อมูลสำรวจของ Wahlstrom ในนักเรียนมัธยมปลาย 3,000 คน ในโรด ไอส์แลนด์ เด็กมัธยมปลายที่ได้เกรด A มีเวลานอนเฉลี่ยมากกว่าเด็กที่ได้เกรด B ประมาณ 15 นาที และเด็กเกรด B มีเวลานอนเฉลี่ยมากกว่าเด็กเกรด C ประมาณ 15 นาทีเช่นกัน

5. ไอคิวสำคัญน้อยกว่าวินัยในตนเอง
เด็กที่มีวินัยและความตั้งใจจะมีแววประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่มีไอคิวสูง เพราะเด็กที่มีวินัยจะไม่วอกแวกและใช้เวลาไปกับเรื่องไร้สาระ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ประสิทธิภาพด้านวิชาการในอนาคตได้ ในขณะที่ไอคิวทำไม่ได้ ยิ่งกว่านั้น มโนธรรมหรือความรู้สึกรับผิดชอบยังมีความสำคัญต่อเกรดมากกว่าความฉลาด คนที่มีมโนธรรมสูงจะได้เกรดดีกว่าทั้งในโรงเรียนและในระดับมหาวิทยาลัย ประกอบอาชญากรรมน้อยลง มีชีวิตคู่ที่ยืนยาว อายุยืน ไม่ใช่แค่ไม่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ แต่ยังมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกน้อยลง ความดันเลือดต่ำ และมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์น้อยลงด้วย

6. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่อง
สมองของคนเราจะพัฒนาได้โดยการลงมือทำสิ่งต่างๆ ไม่ใช่แค่การฟัง นี่คือเหตุผลที่การมีทักษะหลายอย่างดีกว่าใช้เวลาไปกับการทำแบบทดสอบ แทนที่จะค่อยๆ ลงมือทำและซึมซับทักษะเหล่านี้

7. รับประทานอาหารในเวลาที่ถูกต้อง
พ่อแม่ย่อมต้องการให้ลูกๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารเสียสุขภาพอย่างคาเฟอีนและน้ำตาล ที่จริงแล้วก็มีประโยชน์เช่นกัน หากให้เด็กรับประทานในเวลาที่เหมาะสม เพราะคาเฟอีนและน้ำตาลจะช่วยกระตุ้นสมอง รักษาความสนใจและการทำงานของกระบวนการจำ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการใส่ใจ โดยสามารถให้เด็กรับประทานคาเฟอีนเป็นรางวัลขณะที่เรียนหรือต้องการพักผ่อนได้

8. เด็กที่มีความสุข = เด็กที่ประสบความสำเร็จ
ความสุขเป็นข้อได้เปรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสิ่งที่ชี้วัดประสิทธิภาพของมนุษย์ โดยเฉลี่ยแล้ว คนที่มีความสุขมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จทั้งเรื่องงานและความรักมากกว่าคนที่ไม่มีความสุข แต่ขั้นแรกในการสร้างเด็กที่มีความสุขก็คือ ต้องเป็นพ่อแม่ที่มีความสุขให้ได้ก่อน

9. สิ่งแวดล้อมของเด็กๆ ก็สำคัญ
โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ จะไม่มีนิสัยหรือสติปัญญาเหมือนพ่อแม่ แต่สิ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กจริงๆ ก็คือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเพื่อนร่วมห้อง การเรียนในโรงเรียนที่วิชาการเข้มแข็ง แม้ว่าจะมีความกดดัน แต่ในแง่หนึ่งก็จะช่วยให้ลูกมีเพื่อนที่ตั้งใจเรียน โดยจากการวิจัยในนักศึกษาของ Dartmouth College ระบุว่าเมื่อนักศึกษาที่เรียนไม่เก่งได้รูมเมตเป็นเด็กเรียนเก่ง ก็จะมีเกรดเฉลี่ยที่ดีขึ้น เพราะได้ซึมซับพฤติกรรมการเรียนจากรูมเมตนั่นเอง

10. เชื่อมั่นในตัวลูก
แค่เชื่อว่าลูกของคุณเก่ง ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากมายแล้ว เนื่องจากเป็นการสร้างกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก โดยจากการทดสอบของโรเซนธัลและเลนอร์ จาคอบสัน ที่ให้ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนเป็นเด็กฉลาดกว่าที่คิด นักเรียนเหล่านั้นจะทำคะแนนได้ดี ไม่ว่าจะสุ่มหรือไม่ได้สุ่มบอกก็ตาม โดยในช่วงจบการศึกษา เด็กราว 30% มีคะแนนเฉลี่ยไอคิวเพิ่มถึง 22 คะแนน และเกือบทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 คะแนน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook