การเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตั้งครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อร่างกันทุกส่วนของผู้หญิง เรียกได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เส้นผม ไปจนถึงเล็บเท้าเลยทีเดียว ความเปลี่ยนแปลงอาจจะเห็นเด่นชัด หลังจากการตั้งครรภ์เข้าสัปดาห์ที่ 8 และสิ่งต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะต้องเจอ  ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรต้องทราบ และที่สำคัญต้องรู้วิธีรับมือกับสิ่งเหล่านี้

-           ความเปลี่ยนแปลงของหน้าอก :  ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาจจะมีความรู้สึกตึง ๆ ที่เต้านม หรือเต้านมอาจจะขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากในกระบวนการตั้งครรภ์นั้น หน้าอกก็ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นม เต้านมจะขยายใหญ่ บางรายอาจจะมีน้ำนมไหลออกมาก่อน เรียกว่า น้ำนมเหลือง ในช่วงที่เต้านมมีความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ควรใส่เสื้อชั้นในที่คับควรเลือกแบบสบาย ๆ และหากมีอาการเจ็บตึงเต้านม ก็ไม่ควรจะไปบีบหรือสัมผัสบ่อย ๆ

-           อึดอัดคัดจมูก : ในช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์ เลือดจะมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ให้ลองใช้สเปรย์น้ำเกลือทำความสะอาดเมือกและน้ำมูกในคั่งอยู่ในจมูก

-           ปัสสาวะบ่อย : ในช่วงเวลาตั้งครรภ์นี้ ผู้หญิงหลาย ๆ คนจะปัสสาวะบ่อย จึงจำเป็นต้องรู้ว่า ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เดินอยู่บ่อย ๆ นั้น มีห้องน้ำอยู่ตรงไหนบ้าง อาการปัสสาวะบ่อยนี้ เกิดจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นมา และมีผลกระทบต่อไต และเมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น ก็จะเพิ่มแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะ ก็ยิ่งทำให้ปัสสาวะบ่อยยิ่งขึ้นอีก

-           มีความเปลี่ยนแปลงที่ปากและฟัน : เนื่องจากร่างกายต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเพื่อทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และหากแคลเซียไม่เพียงพอกระดูกและฟันก็จะถูกดึงแคลเซียมไป บางคนมีอาการเหงือกเลือดออกง่าย ช่วงเวลานี้ จึงควรจะต้องให้ทันตแพทย์ตรวจเช็คและรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

-           อาการปวด : ในช่วงตั้งครรภ์เส้นเอ็นทั่วร่างจะตึง และทารกในครรภ์ก็จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกปวดเมื่อย โดยเฉพาะในช่วงท้องน้อย บางคนมีอาการปวดเนื่องจากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณมือ กรณีนี้ แพทย์อาจจะแนะนำให้รับประทานยาและบริหารมือ แต่โดยมากจะสามารถรับประทานยาได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป

-           หายใจถี่ หายใจได้ไม่ลึก : อาการดังกล่าวนี้ มักจะเกิดในช่วงอายุคครภ์มาก เพราะเด็กทารกกดทับหลอดลม ทำให้หายใจได้ไม่ลึก ไม่อิ่ม บางคนรู้สึกว่าหายใจได้อากาศไม่เพียงพอ หากมีอาการเช่นนี้ ต้องปรับเปลี่ยนท่านั่งท่านอน เพือให้สามารถหายใจได้ลึกขึ้น

-           อาการท้องผูก : เป็นอาการที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ต้องระมัดระวังไม่ท้องผูกบ่อย ๆ ไม่เช่นนั้นจะทำให้เป็นริดสีดวงได้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใย หรือไฟเบอร์  ออกกำลังกาย ดื่มน้ำมาก ๆ

-           อาการเสียดท้อง แสบร้อนกลางอก มีแก๊ส : ส่วนใหญ่แล้วอาการดังกล่าวนี้ เกิดในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์เนื่องจากช่องท้องถูกกดทับ ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปที่ลำคอ หากมีอาการมากต้องพบแพทย์ เพื่อให้สั่งยาที่ไม่เป็นอันตรายให้

-           ขาเป็นตะคริว : อาการเป็นตะคริวนั้นอาจเกิดขึ้นมาได้ทันแบบทันทีทันใด แต่โดยมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน อาการดังกล่าวเกิดจากการที่ร่างกายมีธาตุเหล็ก หรือโปตัสเซียมต่ำเกินไป วิธีบรรเทาอาการคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตัสเซียมสูงอย่างเช่นกล้วย หากอาการเกิดขึ้นบ่อยควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งหากร่างกายขาดธาตุเหล็ก ก็ต้องมีการรับประทานอาหารเสริม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook