คุณปล่อยให้ “จอ” เลี้ยงลูก ใช่มั้ย

คุณปล่อยให้ “จอ” เลี้ยงลูก ใช่มั้ย

คุณปล่อยให้ “จอ” เลี้ยงลูก ใช่มั้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ เป็นวัยที่สมองมีการเติบโต ทำให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกล้ามเนื้อ ภาษา สติปัญญา และด้านอารมณ์ สังคม

เด็กวัยนี้จะต้องเรียนรู้โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ภายใต้การสอน การบอก การแยกแยะสิ่งถูกผิด การคุ้มครองอันตรายโดยผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด

เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถแปลงภาพและเสียงที่พบเห็น และได้ยินจากสื่อหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทมาเป็นความรู้ที่จะใช้กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วยตนเอง

จากการศึกษาวิจัยของ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์กระทบต่อสุขภาพเด็กเล็กหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น

- พฤติกรรมก้าวร้าว เด็กที่ได้รับสื่อที่มีความรุนแรง ก้าวร้าว มีแนวโน้มนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว

- พฤติกรรมซนและสมาธิสั้น เด็กที่ได้รับสื่อผ่านจอเป็นระยะเวลานานตั้งแต่อายุน้อย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมซนและสมาธิสั้น และก้าวร้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสื่อที่มีความก้าวร้าวรุนแรง

- พฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน เด็กที่ได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 6-18 เดือน มีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมดื้อ ต่อต้านและพฤติกรรมคล้ายออทิสติก เช่น พฤติกรรมแยกตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับสื่อที่ผลิตขึ้นสำหรับผู้ใหญ่

- พฤติกรรมด้านภาษา สื่อช่วยพัฒนาด้านภาษาได้ ถ้าออกแบบมาอย่างดีและพ่อแม่อยู่ช่วยแนะนำ

- ส่วนการดูรายการบันเทิงทั่วไป พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือพี่เลี้ยงเด็ก เปิดหน้าจอทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานต่อวัน จะมีผลทำให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กล่าช้า

- ความสามารถสมองระดับสูง เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว นั่นคือเด็กที่ใช้สื่อมากกว่า นานกว่า จะส่งผลลบต่อความสามารถสมองระดับสูง เช่น การแก้ไขปัญหาซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน การบริหารจัดการ

การใช้สื่อผ่านจอในการเลี้ยงเด็กเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเลย ในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แต่ทำให้เด็กแย่ลง ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรใช้สื่อกับเด็กเล็กอย่างเหมาะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook