10 อันดับสตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์

10 อันดับสตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์

10 อันดับสตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ที่เรารู้จักกันส่วนใหญ่ คนที่กุมอำนาจส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือผู้ชาย ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในสังคมน้อยมาก แต่วันจะพาไปดู  "10 อันดับสตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์"




อันดับที่ 10 Eleanor of Aquitaine
เอ เลเนอร์แห่งอาควิเตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หรือ เอเลเนอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งอากีแตนและแกสโคนี และเคานทเทสแห่งปัวตู (ภาษาอังกฤษ: Eleanor of Aquitaine หรือ Aliénor) (ราว ค.ศ. 1122 - 1 เมษายน ค.ศ. 1204) พระราชินีเอเลเนอร์ประสูติเมื่อราว ค.ศ. 1122 ที่ปราสาทเบแล็ง ฝรั่งเศส ทรงเป็นพระธิดาของวิลเลียมที่ 10 ดยุคแห่งอากีแตนและดัชเชสเอเนอร์แห่งแชเทลเลโรลท์ ทรงเป็นพระราชินีของฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1137 ถึงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1152 และพระราชินีของอังกฤษในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1154 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1189 นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จ พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ และทรงมีส่วนร่วมในการเดินทางไปต่อสู้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 เอเลเนอร์แห่งอากีแตนสิ้นพระชนม์เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1204 ที่แอบบีฟองเทวฟรอด์ ในฝรั่งเศส พระราชินีเอเลเนอร์ทรงเป็นสตรีที่มีฐานะดีและอำนาจมากที่สุดในยุโรปในยุคกลาง


อันดับที่ 9 Hatshepsut
ฟาโรห์ หญิงฮัตเชปซุต (Hatshepsut) ราชินีมีเครา ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้า ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์โบราณ ทรงเป็นผู้ปกครองโดดเด่นในสมัยราชอาณาจักรใหม่ และพระนางทรงเป็นผู้ที่สร้างให้ราชอาณาจักรมั่นคง แต่ทว่าฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ผู้ปกครองสมัยหลังกลับพยายามทำลายรูปสลักและพระนามจนเกือบหมดสิ้น เป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกและองค์เดียวของอียิปต์ ครองบัลลังก์กว่า 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ฝ่ายโบราณคดีของประเทศอียิปต์ ได้แถลงว่ามัมมี่ที่ขุดค้นพบเมื่อราวร้อยปีก่อน เป็นร่างของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต ที่เคยปกครองอียิปต์โบราณในช่วง 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

 


อันดับที่ 8 Maria Theresa of Austria
สมเด็จ พระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย (เยอรมัน: Maria Theresia von Österreich, อังกฤษ: Maria Theresa of Austria; พระนามเต็ม: มาเรีย เทเรเซีย วาร์ลบูก้า อมาเลีย คริสติน่า ฟอน ฮับส์บูร์ก (ภายหลังเป็นฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน)) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หลังจากอภิเษกสมรส แต่พระราชอำนาจทั้งหมดอยู่ที่พระองค์เพียงผู้ดียว นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ถือว่า พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดในทวีปยุโรปเลยทีเดียว

 


อันดับที่ 7 Empress Theodora
ธี โอโดราราชินีแห่งโรม มเหสีของพระเจ้าจัสติเนียนเกิดที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ราวค.ศ.508บิดามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงสัตว์ป่า และถูกหมีกัดตาย ธีโอโดรามีพี่น้อง3คนหลังพ่อตายเด็กทั้งสามจึงออกไปรับทำงานตำๆในโรงละคร สัตว์เพื่อหาเงินเลี้ยงตนเองกับแม่เมื่อธีโอโดราอายุ10ขวบก็เข้าทำงานกับ สำนักนางคณิกากับพี่สาวพออายุได้12ก็เริ่มฝึกเป็นนางละครถึงจะไม่มีชื่อ เสียงว่าเป็นศิลปินเช่นกับคนอื่นๆนางก็สามารถดึงดูดความสนใจจากบรรดาชาย หนุ่มและไม่หนุ่มทั้งหลายที่พากันมาเป็นแขกของนางธีโอโดรารับแขกได้หลายคน ตลอดวันอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพราะเธอเป็นผู้หญิงที่มีรูปสวย ปัญญาดี แต่ธีโอโดราก็ไม่ได้ปล่อยจิตใจให้อยู่กับชายใดและมีความยินดีที่จะติดต่อกับ ชายคนใหม่ที่ดีกว่าต่อไสมอ มารดาของธีโอโดราเฝ้าตักเตือนให้นึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง แต่ธีโอโดราบอกกับแม่ของเธอว่าเธอยินดีจะต้อนรับทั้งความยินดีและความโชค ร้ายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ชื่อเสียงของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนธีโอโดรากลายเป็นสาวสังคม ไม่ว่าจะมีงานอะไร ที่ไหน ธีโอโดราถูกจ้างให้ไปเเสดง วันหนึ่งมีชายหนุ่มชาวซีเรียนชื่อเฮเคโบรัสจัดงานเลี้ยงฉลองที่เขาได้รับ ตำแหน่งใหม่และธีโอโดราจึงถูกเชิญไปในงานนี้การพบกับเฮเคโบลัสทำให้ความ ตั้งใจเปลี่ยนไปเธอยอมเป็นภรรยาของเขาพร้อมทั้งไอยู่กินกับเขาอย่างเงียบๆ ไม่นานนักธีโอโดราจึงเกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องถูกทิ้งที่ต้องอยู่ตามลำพัง เธอจึงตัดสินใจแอบติดสินบนให้หัวหน้าคนใช้หาชายหนุ่มมาพูดคุยกับนางตอนที่ สามีไม่อยู่บ้านวันหนึ่งเฮเคโบลัสได้เห็นนางจึงถูกทอดทิ้งและไม่ได้เงินแม้ แต่บาทเดียวนางจึงไปหาเพื่อนของนางเซโดเนียที่เคยแสดงละครด้วยกัน นางเซโดเนียจึงเขียนจดหมายแนะนำทางให้กับเจ้าชายจัสติเนี่ยนขอให้พระองค์ทรง ส่งนางกับบ้านเกิดที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อธีโอโดราเข้าเฝ้าพระองค์แทน ที่จะถูกส่งกลับแต่พระองค์ทรงขอร้องให้นางอยู่เป็นเพื่อนพระองค์..ในที่สุด เจ้าชายจัสติเนี่ยนก็ทรงอภิเษกสมรสกับนางขณะที่นางอายุ15ปีเมื่อค.ศ.523 ค.ศ.537พระเจ้าจัสติเนี่ยนขึ้นครองราชย์ธีโอโดราจึงได้เป็นราชินี ทำให้เธอมีชื่อเสียงมากเพราะเธอไม่ใช่ราชินีธรรมดา เธอเฉลียวฉลาดจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีของสามี แต่นางเป็นคนโลภมากและขี้อิจฉา ไม่ต้องการใครดีไปกว่าตนเมื่อเห็นใครดีกว่าผู้นั้นจะถูกฆ่าตายด้วยการวางยา พิษหรือจับถ่วงน้ำหรือไม่ก็เชิญให้เป็นแขกผู้มีเกียรติด้วยการมอมเหล้าให้คน ฆ่าตาย พระนางสิ้นเมื่ออายุได้40ปีที่ตำบลปี่เนียนเป็นที่พระองค์ทรงเสด็จไปรักษาตัว

 


อันดับที่ 6 Empress Wu Zetian
สมเด็จ พระนางเจ้าบูเช็กเทียน หรือ จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน (จีนตัวเต็ม; จีนตัวย่อ; พินอิน: Wǔ Zétiān) มีพระนามเดิมว่าอู่เม่ยเหนียง พระราชบิดามีตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการนามว่าอู่ซื่อย้วยและพระราชมารดา เป็นเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์สุย ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงฉางอันซึ่งเป็นนครหลวงของราชวงศ์ถังในขณะนั้น

 


อันดับที่ 5 Isabella I of Castile
สมเด็จ พระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล หรือ พระราชินีนาถอิซาเบลลาแห่งคาสตีล (อังกฤษ: Isabella I of Castile; สเปน: Isabel I de Castilla 22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีแห่งคาสตีลและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระสวามี พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลานคือจักรพรรดิ ชาลส์ที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากพวกมัวร์ และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำ ให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (สเปน: España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของอาณาจักรคาสตีลและเลออน อารากอน และนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก

 


อันดับที่ 4 Elizabeth I of England

สมเด็จ พระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เสด็จสวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดี้เจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิ ในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรี ที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อ สงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบัน โปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น "ประมุขสูงสุด" (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น "นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์" ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการ เสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อทรงมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น "พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์" และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่า พระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ "video et taceo" (ไทย: ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด) นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการ มีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามในเนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และ ไอร์แลนด์อย่างครึ่งๆ กลางๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อกองเรืออาร์มาดาของสเปนในปี พ.ศ. 2131 ก็ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็น ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ภายใน 20 ปีหลังจากการเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษ รัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า "สมัยเอลิซาเบธ" ที่มีชื่อเสียงเหนือสิ่งใดว่าเป็นยุคเรอเนสซองซ์ของนาฏกรรมของอังกฤษ ที่นำโดยนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียงเช่นวิลเลียม เชคสเปียร์ และ คริสต์โตเฟอร์ มาร์โลว์, และความเจริญทางการเดินเรือโดยผู้นำเช่นฟรานซิส เดรค นักประวัติศาสตร์บางท่านค่อนข้างจะไม่กระตือรือร้นต่อความยิ่งใหญ่ของ พระองค์ และกล่าวว่าทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และบางครั้งก็ทรงเป็นผู้นำผู้ไม่มีความเด็ดขาด ผู้ทรงได้รับผลประโยชน์จากโชคมากกว่าที่จะทรงใช้พระปรีชาสามารถ ในปลายรัชสมัยปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และ ทางการทหารก็ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนถึงกับกล่าวกันว่าการเสด็จสวรรคตนำมาซึ่งความโล่งใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน พระราชินีนาถอลิซาเบธทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำผู้มีเสน่ห์ และ เป็นผู้นำให้ประเทศรอดจากภัยพิบัติต่างๆ ในยุคที่รัฐบาลอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วน และ สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับสถานะการณ์ภายในที่เป็น อันตรายต่อราชบัลลังก์ หลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระอนุชาและพระเชษฐภคินีแล้วรัชสมัยอันยาวนานถึง 44 ปีก็เป็นรัชสมัยที่สร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร์ และเป็นรัชสมัยที่วางรากฐานของความเป็นชาติของอังกฤษด้วย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา

 


อันดับที่ 3 Empress Dowager Cixi
สมเด็จ พระจักรพรรดินีเสี้ยวชิงเสี่ยน (จีน; พินอิน: Xiào Qing Xiǎn) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง (จีน; พินอิน: Cíxǐ Tàihòu; เวด-ไจลส์: Tz'u-Hsi T'ai-hou, ฉือสี่ไท่โฮ่ว; อังกฤษ: Empress Dowager Cixi) หรือที่รู้จักกันในประเทศไทยว่า "ฉือสี่ไท่โฮ่ว" หรือตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า "ซูสีไทเฮา" (ประสูติ: 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2377-ทิวงคต: 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450) ทรงเป็นราชนิกุลชาวแมนจูในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ชิง โดยเป็นพระราชวงศ์ผู้ปกครองประเทศจีนโดยพฤตินัยถึงสี่สิบแปดปี และเมื่อเสด็จทิวงคตแล้วไม่นาน ราชวงศ์แมนจูและระบอบราชาธิปไตยในจีนก็ถึงกาลสิ้นสุดลง เรื่องราวของฉือสี่ไท่โฮ่วเกิดขึ้นในช่วงกลางรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถึงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย

 


อันดับที่ 2 Catherine II of Russia

สมเด็จ พระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (อังกฤษ: Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "มหาราชินี" (หรือ รัสเซีย: Екатерина II Великая; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) ทรงปกครองประเทศรัสเซียในฐานะพระจักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซียเป็นเวลา 34 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2305 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (an enlightened despot)

 


อันดับที่ 1 Queen Victoria
สมเด็จ พระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชินีอังกฤษในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837 - 22 มกราคม 1901 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ (63ปี) และทรงมีสายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" (Grandmother of Europe)

 



ขอบคุณข้อมูล : http://www.toptenthailand.com/

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ 10 อันดับสตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook