เตรียมรับมือ กับอารมณ์ซึมเศร้า
การตั้งครรภ์มักถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงมีความสุข ที่สุด แต่ใช่จะเป็นเช่นนั้นกับผู้หญิงทุกคน อย่างน้อยผู้หญิง หนึ่งในสิบจะทุกข์ทรมานจากอาการภาวะซึมเศร้าในช่วง ระหว่างการตั้งครรภ์ อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ของระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจน ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของสารเคมีในสมอง ซึ่ง ไม่เพียงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังมีความกังวลมากกว่าปกติ ซึ่งควรได้รับการรักษาระหว่างการตั้งครรภ์
จากผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อเมริกาพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการซึมเศร้าจะส่งผลให้ลูกน้อยที่คลอดออกมามีโอกาสซึมเศร้า และเป็นกังวลได้ง่าย อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องพัฒนาการอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วมาหาทางทำความรู้จัก และรับมือกันดีกว่าค่ะ
อาการแบบไหนเรียกว่าซึมเศร้า
บางครั้งอาการซึมเศร้า และเป็นกังวลอาจไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด เพราะตัวคุณเองปฏิเสธที่จะยอมรับมันโดยไม่รู้ตัว และเหมารวมว่านั่นเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ อย่าอายที่จะบอกให้ใครรู้ว่าคุณกำลังรู้สึกแย่แค่ไหน เพราะสุขภาพจิตของคุณย่อมส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หากปล่อยให้อาการยังคงดำเนินต่อไปจะเป็นผลให้คุณสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง และลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์หากคุณเคยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้มากกว่าสามอาการ ติดต่อกันนานมากกว่าสามสัปดาห์ นั่นแสดงว่าคุณมีอาการภาวะซึมเศร้าที่ต้องพาตัวเองไปพบคุณหมอได้แล้ว
- ไม่รู้สึกร่าเริง หรือสนุกสนานกับเรื่องที่คนอื่นเขาขำๆ กัน
- รู้สึกหดหู่ เศร้าสร้อย หรือ “ว่างเปล่า” ทั้งวัน หรือทุกวัน
- ไม่มีสมาธิ
- รู้สึกฉุนเฉียวหงุดหงิดง่าย หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หรือ
- ร้องไห้ง่าย หรือหยุดร้องไห้ไม่ได้
- นอนไม่หลับ หรือหลับตลอดเวลา
- อ่อนเพลียมาก หรือเหนื่อยตลอดเวลา
- อยากกินโน่นกินนี่ตลอดเวลา หรือกินอะไรไม่ลงเลย
- รู้สึกผิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือรู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า หรือท้อแท้สิ้นหวัง
- คิด หรือเป็นกังวลกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซ้ำๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณแม่เองระหว่างการตั้งครรภ์ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับลูกน้อยในครรภ์
นอกจากนี้หากอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือสลับไปสลับมา มีความกระตือรือร้นสูงผิดปกติ ทำโน่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา อยากรีบทำงานตรงหน้าให้เสร็จไวๆ โดยไม่ยอมหยุดพัก หรือกินอะไร พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนไป หรือมีปัญหาในการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณอาการที่เรียกว่าความผิดปกติสุดขั้วที่ต้องเข้ารับการบำบัดจากแพทย์ คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกไม่ดีที่ต้องไปพบแพทย์ด้วยปัญหาซึมเศร้าทำให้ไม่อยากไป และคิดว่าตัวเองยังแข็งแรงดี ไม่ได้ป่วยไข้อะไร เพียงแต่กำลังตั้งครรภ์และมีอาการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเท่านั้น
แต่ถ้าหากอาการเหล่านี้ถึงกับส่งผลให้คุณไม่สามารถจัดการกับการงานทั่วๆ ไปที่เคยทำได้ หรือหากถึงขั้นทำร้ายตัวเองกรณีนี้ควรต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาในทันที และอย่าคิดพยายามรักษาตัวเองโดยเด็ดขาด ขอให้คิดเสียว่าการไปพบแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพจิตเป็นหนึ่งวิธีในการดูแลครรภ์เพื่อให้ลูกน้อยในท้องของคุณมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และเพื่อดูแลตัวคุณเองให้แข็งแรงเตรียมพร้อมส