เหตุเกิดจากการสูญเสียแคลเซียม
โรคกระดูกเป็นโรคที่ปัจจุบันกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะสำหรับคนไทยเราซึ่งยังดื่มนมกันน้อย โดยเฉลี่ย 14.19 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่ทั่วโลกอยู่ที่ 103.9 ลิตรต่อคนต่อปี ทั้งๆ ที่นมเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญ หาบริโภคได้ง่าย ราคาถูก ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนถึงประมาณ 7 ล้านคน
โดยปกติกระดูกมนุษย์นั้นมีช่วงชีวิตการเจริญที่แตกต่างจากอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือจะมีการเจริญเต็มที่ หมายถึง มีการสะสมของเนื้อกระดูกเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี ซึ่งกระดูกในช่วงดังกล่าวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คือ มีทั้งการสะสมของเนื้อกระดูก และการสลายของเนื้อกระดูกเพื่อเอาแคลเซียมออกไปใช้ในระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และการทำงานของเซลล์ในร่างกาย อาจเรียกได้ว่า กระดูกเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมที่สำคัญของร่างกาย
ในช่วงก่อนอายุ 30 ปีนั้นอัตราการไหลเข้าของแคลเซียม หรือการสะสมมีมากกว่าอัตราการสลาย แต่พออายุมากกว่า 30 ปีไปแล้วกลับตรงกันข้ามที่กระดูกจะมีการสลายมากกว่าการสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุให้กระดูกบางลงๆ โดยกระดูกจะบางลงปีละ 5 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ ทำให้หลังจากช่วงอายุนี้ โอกาศที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะจึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นการที่คุณผู้หญิงจะมีเนื้อกระดูกหนาหรือบางเท่าไรเมื่ออายุมากขึ้น จึงขึ้นอยู่กับต้นทุนของกระดูกที่สะสมมาตั้งแต่วัยเยาว์ ถ้าต้นทุนสูงก็จะมีเนื้อกระดูกตุนไว้ให้มาก ร่างกายก็จะมีแคลเซียมสะสมมากพอที่จะไม่ทำให้กลายเป็นโรคกระดูกหรือกระดูกพรุนได้ง่าย
โดยปัจจุบันนี้ คุณสามารถทราบแนวโน้มของภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ด้วยเทคโนโลยี BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) จากผลิตภัณฑ์เครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย TANITA ที่สามารถคำนวณน้ำหนักของมวลกระดูกคุณได้ง่ายๆ เพียง 30 วินาที เพื่อช่วยคุณประเมินความเสี่ยงในการลดลงของมวลกระดูกในเบื้องต้น และอาจทำให้คุณได้มีเวลาหันกลับมาดูแลกระดูกของคุณให้แข็งแรงได้นานยิ่งขึ้น