ทำไมคนเราต้องตรวจสุขภาพด้วย

ทำไมคนเราต้องตรวจสุขภาพด้วย

ทำไมคนเราต้องตรวจสุขภาพด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


“อ้าว ก็อยากอยู่กับคนที่เรารักไปนานๆ ไง” คำตอบข้างต้นคงเป็นเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้วสำหรับทุกคน เพราะเป้าหมายของการตรวจสุขภาพก็เพื่อเป็นการลดอัตราการเสียชีวิต หรือเพิ่มอัตราการมีชีวิตให้ยืนยาวขึ้นนั่นเอง


แล้วคนเรามักเสียชีวิตด้วยโรคอะไรกันบ้าง?


จากสถิติปัจจุบันพบว่าโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเรียงจากลำดับสูงสุดลงไป คือ โรคมะเร็ง (81.4 ต่อแสน) อุบัติเหตุ (57.6 ต่อแสน) โรคหัวใจ ความดันและหลอดเลือด (57.4 ต่อแสน) โรคเกี่ยวกับปอด (22.4 ต่อแสน) โรคไตอักเสบไตพิการ (20.2 ต่อแสน) โรคเกี่ยวกับตับและตับอ่อน (14.6 ต่อแสน) โรคเอดส์ (12.8 ต่อแสน) ที่เหลือเป็นโรคอื่นๆ ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ


การตรวจสุขภาพ จึงเป็นการคัดกรองว่าเราจะไม่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ เพราะได้ผ่านการดูแลและตรวจสอบตลอดเวลาแล้วว่ามีอะไรที่ผิดปกติก่อนวัย หรือมีอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ในอนาคต และควรจะต้องเฝ้าระวังหรือไม่ จากการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพคุณได้โดยไม่รู้ตัว เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ความครียด มลภาวะ การรับประทานอาหาร เป็นต้น


การตรวจสุขภาพจะสามารถหยุดขบวนการหรือสารต่างๆ ที่ทำลายร่างกายได้ โดยถ้าหากพบโรคร้ายแรงในระยะเริ่มแรกก็จะได้รีบเข้ามารับการรักษา ผลการรักษาก็จะดีกว่าที่จะไปพบแพทย์ในระยะที่อาจช่วยอะไรได้ไม่มากแล้ว และยังจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้ชีวิตใหม่ว่าควรจะต้องปรับเปลี่ยนหรือระมัดระวังการใช้ชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง

ลด 51% มาตรวจสุขภาพแบบสบายใจ สบายกระเป๋า ที่ รพ. พญาไท คลิก!


ตรวจอะไรเพื่ออะไร?
การตรวจความดันโลหิต – ความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการปวดศีรษะ แต่ในระยะยาวทำให้เกิดผลเสียต่อสมอง หัวใจ และไต การตรวจร่างกายทำให้พบและรักษาได้ แทนที่จะเกิดปัญหาใหญ่ๆ เช่น ไตวาย หรือเส้นเลือดสมองแตก

การเอกซเรย์ปอด – เพื่อวินิจฉัยโรคปอด เยื่อหุ้มปอดและหัวใจ และกระดูกช่วงอก โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับสารพิษติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ปอดผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของวัณโรค โรคถุงลมโป่งพอง

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ (Ultrasound) – เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวนด์ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง
          - การตรวจช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของตับ ไต ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน เป็นต้น
          - การตรวจช่องท้องส่วนล่างหรืออุ้งเชิงกราน (Ultrasound Lower Abdomen or Pelvis) เป็นการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (อุ้งเชิงกราน) เช่น รังไข่ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรือก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
          - การตรวจช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) เป็นการตรวจดูความผิดปกติภายในช่องท้องทั้งหมด

การตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี –  โรคตับอักเสบชนิดบี อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการป่วย การตรวจช่วยให้ทราบว่ามีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ หรือถ้ายังไม่พบการติดเชื้อ และไม่มีภูมิต้านทาน จะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกัน

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC – เป็นการตรวจหาความผิดปกติของร่างกายด้วยการตรวจเลือด เพื่อทำการป้องกันและแก้ไขโรคต่อไป

การตรวจการทำงานของไต Creatinine – เป็นการวัดระดับสารเคมีในเลือด สามารถตรวจดูได้ว่า เป็นภาวะไตเสื่อม หรือไตวาย ได้หรือไม่

การตรวจการทำงานของตับ –  เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติในส่วนของเนื้อตับ เช่น ตับอักเสบ และดูความผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

การตรวจระดับกรดยูริค – เป็นการตรวจหาโรคเก๊าท์ และถ้าระดับกรดยูริคสูงกว่าปกติ อาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุของโรคไตตามมาได้

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS – เป็นการตรวจเพื่อดูว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โรคเบาหวานอาจพบได้ก่อนแสดงอาการ หากท่านน้ำหนักมาก หรือมีกรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวาน การตรวจน้ำตาลในเลือดจะมีประโยชน์มาก

การตรวจปริมาณไขมันในเลือด
          - ไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นการตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดว่า มีปริมาณสูงเกินไปหรือไม่
          - ไขมันไตรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นการตรวจเพื่อดูองค์ประกอบไขมันในเลือดสูง
          - ไขมันความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี จะช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
          - ไขมันในเลือดต่ำ (LDL) เป็นไขมันคอเลสเตอรอลไม่ดี ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง

การตรวจปัสสาวะ –  เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะอาจเกิดโรคกระเพาะอักเสบหรอืโรคไต และตรวจสารตกค้างของยาเสพติด

การตรวจอุจจาระ – เป็นการตรวจหาพยาธิต่างๆ และตรวจระบบขับถ่ายว่าผิดปกติหรือไม่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook