ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบางและเล็กมาก จึงไม่น่าแปลกที่ใครบางคนบอกว่าอยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ แต่ไขมันชนิดนี้ยังเพิ่มพูนในร่างกายของเราได้จากอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย

อาหารประเภทไขมันโดยส่วนใหญ่จะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรืออาหารอื่นๆ ที่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีไขมันซ่อนอยู่ด้วย เมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไป ร่างกายจะดูดซึมแล้วก็ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ผ่านเลือดส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงานไตรกลีเซอไรด์ ที่มากเกินไปจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน(body fat) แล้ว พอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนร่างกายอ้วนขึ้น
 
โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังจากการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์
ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ในเลือด  50 – 150 mg/dl

สาเหตุ
1.อาหาร  ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์จากพลังงานส่วนเกินที่รับประทานมากกว่าความจำเป็นที่ต้องการใช้ และออกกำลังกายน้อยเกินไป และยังสังเคราะห์ได้จากอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ควรหลีกเลี่ยง
   1.1 อาหารหวาน ขนมหวาน น้ำอัดลม
   1.2 เหล้า เบียร์ ไวน์
   1.3 อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โคเลสเตอรอลสูง
2.กรรมพันธุ์  เช่น ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ย่อยไตรกลีเซอไรด์ จึงขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าผิดปกติ คนกลุ่มนี้มักมีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากอาจสูงได้ถึง 800-1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
3.โรคหรือการใช้ยาบางชนิด  เช่น เบาหวาน  ไตวายเรื้อรัง ยาคุมกำเนิด ไขมันจากปลาทะเล (Fish oil)  สามารถลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่ม HDL ทำให้เกร็ดเลือดจับตัวนัอยลง
ควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 20 – 30 นาที  อาทิตย์ละ 3 ครั้ง โดยไม่หักโหม

การควบคุมอาหาร
อาหารกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง
  1.น้ำตาลทุกชนิด น้ำผึ้ง ขนมหวาน เช่น สังขยา ขนมชั้น ฝอยทอง ขนมเค็ก คุกกี้
  2.น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ เหล้า เบียร์ ไวน์
  3.ผลไม้รสหวานจัด เช่น องุ่น ลำไย ขนุน ทุเรียน อ้อย มะม่วงสุก ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ รวมทั้งผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล และผลไม้กวน
อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ
  1.ข้าว แป้ง เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ขนมจีน ขนมปัง บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว
  2.อาหารไขมันอิ่มตัวสูง โคเลสเตอรอลสูง เช่น  ขาหมู ข้าวมันไก่ หมู่ 3 ชั้น ของทอดน้ำมันมากๆ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนย
  3.ผักที่มีหัว หรือมีแป้งมาก เช่น หัวหอม หัวผักกาด ถั่วงอกหัวโต หัวปลี ฝักทอง แครอท
  4.ผลไม้บางอย่าง เช่น เงาะ สับประรด มะละกอ กล้วย
อาหารที่ควรรับประทาน
  1.ผักทุกชนิด (ยกเว้นผักที่มีแป้งมาก)
  2.อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่-เป็ด (ลอกหนัง) หมู-เนื้อ (ไม่ติดมัน)
  3.อาหารโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้
  4.ผลไม้ที่ไม่หวาน เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่
กินปลาทะเลที่มีไขมันโอเมกา 3 สูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่ง 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ต้องลดการกินไขมันโดยรวม (โดยเฉพาะไขมันสัตว์)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook