เล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจเป็นต้อหินได้ รู้แล้วอย่าเสี่ยง

เล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจเป็นต้อหินได้ รู้แล้วอย่าเสี่ยง

เล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจเป็นต้อหินได้ รู้แล้วอย่าเสี่ยง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราคงต้องยอมรับกันว่า ปัจจุบันนี้ โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และกำลังจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับมนุษย์ที่อาจจะมีความสำคัญมากกว่าการทานอาหาร หรือนอนหลับพักผ่อน บางคนในห้องปิดไฟแล้ว ก็ยังคลุมโปงเล่นโทรศัพท์มือถืออยู่ รู้ตัวอีกทีก็เริ่มมีอาการเคือง หรือแสบตา รวมทั้งอาจเป็นโรคต้อหินในตาได้ หากมีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้ตาบอดได้อีกด้วย

ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นโรคต้อหินหรือโรคเกี่ยวกับดวงตา หากต้องใช้โทรศัพท์มือถือ

เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกถึงความกังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องของสายตาที่รักษายาก และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เราจึงขอแนะนำการป้องกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ คือ

1.ดื่มน้ำบ่อยๆ

รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นต้อหินได้ เพราะน้ำจะเข้าไปช่วยหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเราให้เกิดความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งดวงตาของเราด้วย จึงช่วยลดอาการตาแห้ง หรืออาการระคายเคืองจากแสงสีฟ้าของหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้

2.พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อใดก็ตามที่ใช้โทรศัพท์มือถือแล้วรู้สึกปวดตา แสบตา เคืองตาหรือมีปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับดวงตา ก็ควรจะปิโทรศัพท์แล้วพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ อย่าฝืนเล่นต่อไป เพราะอาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา รวมทั้งโรคต้อหินด้วย

3.อย่าเล่นโทรศัพท์ในที่มืด

ไม่ใช่แค่วัยรุ่นเท่านั้นที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ วัยทำงานหรือผู้ใหญ่ในปัจจุบันก็มีพฤติกรรมเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงในการมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และการเป็นโรคต้อหินที่สูงมาก หากยังใช้โทรศัพท์มือถือไม่เสร็จ ก็ไม่ควรรีบปิดไฟ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในความมืดจริง ๆ ก็ควรตั้งค่าเป็น Night Mode หรือ โหมดกลางคืน ให้โทรศัพท์ได้ปรับค่าเกี่ยวกับแสงสว่างที่ดีต่อดวงตาของเรามากที่สุด

4.พักสายตาบ้าง

เราอาจจะเคยเห็นบางคนเล่นโทรศัพท์มือถือต่อเนื่องเป็นเวลานาน 1-2 ชั่วโมงโดยไม่พักเลย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาระคายเคืองตา และตาแห้งที่หลาย ๆ คนอาจจะคาดไม่ถึงมาก่อน ถ้าหากไม่อยากมีอาการเช่นนั้น ก็ควรพักสายตาด้วยการมองไปที่อื่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสายตาดูบ้าง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากขึ้น

5.พบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าดวงตามีอาการผิดปกติก็สามารถไปตรวจได้เลย เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัย และรักษาได้ในเวลาอันรวดเร็ว

เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่มีค่าเป็นอย่างมาก เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็ยากที่จะรักษาให้เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 5 พฤติกรรมนี้ก็ควรหยุด หรือเลิกได้แล้ว เพื่อให้ดวงตาได้อยู่กับคุณไปนาน ๆ อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook