ไขมันในอาหารเลือกทานอย่างไร
พอเอ่ยถึงไขมัน คนส่วนใหญ่ส่ายหน้าไม่เอาไขมันทันที เพราะคิดว่าไขมันทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเรื้อรังต่างๆ เป็นต้น อย่าเพิ่งรีบด่วนยัดเยียดความเป็นผู้ร้ายให้ไขมันนะคะ ไขมันถ้าเลือก ไขมันดีกิน ก็มีประโยชน์
จะเลือกกินอย่างไร
ไม่กินไขมันอิ่มตัว เยอะเกินไป ร่างกายสามารถสร้างไขมันชนิดนี้ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทานเพิ่ม อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เป็นไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือในพืชบางชนิด เช่นน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์ม มีสภาวะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
เลือกไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปน้ำมัน เช่นน้ำมันพืชเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก ที่น่าจับตามองล่าสุดคือน้ำมันรำข้าว โดยเฉพาะน้ำมันรำข้าวที่ปัจจุบันค้นพบว่านอกจากจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงแล้วยังมีสารแอนติออกซิแดนท์ธรรมชาติ คือ สารออริซานอล และ วิตามินอีสูง คนไทยโชคดีที่มีข้าวพอที่จะสกัดน้ำมันรำข้าวทานกันในประเทศในราคาไม่แพงนัก ทำให้น้ำมันรำข้าว ก้าวสู่ความนิยมในปัจจุบัน นำมาทอดมันฝรั่งแทนน้ำมันปาล์ม แม้แต่สินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อนอย่าง กะทิธัญพืช ที่ ทำจากน้ำมันรำข้าว ก็มีการเลือกมาใช้ในการปรุงอาหารแทนกะทิมะพร้าวกันแล้ว เพราะ เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดโคเลสเตอรอล เป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับเมนูสุขภาพหลายเมนูของอาหารไทย
ไขมันดีมีประโยชน์
• ไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและมีมากถึง 60 % ในสมองของมนุษย์ และเซลล์ประสาท เรียกได้ว่าไขมันเป็นอาหารของสมองและเซลล์ประสาทเลยทีเดียว
• ไขมันเป็นฉนวนห่อหุ้มเซลล์ประสาททุกเซลล์ และยังเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกายทุกส่วนด้วย เยื่อหุ้มเซลล์เองก็มีไขมันต่างชนิดกันเป็นองค์ประกอบและมีความสำคัญในการควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ เช่น กลูโคส ฮอร์โมน จุลินทรีย์ และแม้แต่สารพิษ
• แม้แต่โคเลสเตอรอลที่ใครๆกลัวกัน แต่ร่างกายต้องการโคเลสเตอรอลเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่นฮอร์โมนเอสโตรเจน เทสโทสเตอโรล วิตามินดี เป็นต้
• นอกจากนี้การลำเลียงวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน เช่นวิตามิน A, E ก็ต้องอาศัยไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ของผนังลำไส้ช่วยลำเลียงวิตามินเข้าสู่ร่างกาย
หากเลือกทานไขมันดี ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะไม่อ้วน และ ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ มาเริ่มดูแลตัวเอง ด้วยผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่ทำจากไขมันดีกันดีกว่า
สนับสนุนข้อมูลโดย นักวิทยาศาสตร์การอาหาร จากฟอร์แคร์ กะทิธัญพืช
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.4care.co.th/main.html
References:
Frank B. Hu, et.al., “Types of Dietary Fat and Risk of Coronary Heart Disease: A Critical Review.” Journal of the American College of Nutrition, Vol. 20, No. 1, 5-19 (2001)
Michael Pollan. แถลงการณ์นักกิน: The Defense of Food. แปลและเรียบเรียงโดย คณิตสรณ์ สัมฤทฺธิ์เดชขจร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.