ออทิสติกเทียมในเด็ก ภัยเงียบยุคใหม่ที่คุณแม่ต้องระวัง

ออทิสติกเทียมในเด็ก ภัยเงียบยุคใหม่ที่คุณแม่ต้องระวัง

ออทิสติกเทียมในเด็ก ภัยเงียบยุคใหม่ที่คุณแม่ต้องระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคออทิสติกในเด็ก เป็นภาวะที่เราต่างก็คุ้นหูกันดีอยู่แล้วว่ามันคือ ภาวะบกพร่องทางสมอง ทำให้พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของลูกน้อยช้ากว่าเด็กในเกณฑ์เดียวัน แต่ในปัจจุบันยังมีประเภทของโรคนี้ในชื่อว่า "ออทิสติกเทียม" เป็นอีกหนึ่งความน่ากังวลใจของแพทย์ที่พ่อแม่ยุคใหม่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจ

เนื่องจากวิถีชีวิตติดจอที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ส่งผลไปถึงเด็ก การทำงานของพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูกมากนัก จึงปล่อยให้พวกเขาใช้หน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ทเป็นเพื่อนเล่น ซึ่งเชื่อกันว่ามีเกมมากมายที่ช่วยพัฒนาสมองได้ดีเช่นเดียวกัน แต่หารู้ไม่ว่าการปล่อยลูกน้อยเอาไว้กับสิ่งเหล่านี้ จะทำให้วัยเด็กของพวกเขาพัง จนกลายเป็นโรคที่เรียกว่าออทิสติกเทียมดังที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเองค่ะ

ออทิสติกเทียมคืออะไร?

ลักษณะของออทิสติกเทียม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในสมองของเด็กวัยกำลังพัฒนา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกาย แต่มีปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งเร้า นั่นก็คือการปล่อยให้ลูกน้อยอยู่กับทีวี จอโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ มากเกินไป จนกลายเป็นพฤติกรรมซ้ำๆ จนทำให้สมองจดจำอยู่กับแต่สิ่งเดิม ไม่มีการพัฒนาที่เหมาะสมตามวัยที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ เสี่ยงที่พวกเขาจะมีการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในเดียวกันที่มีการใช้ชีวิตแบบปกติ มีการเข้าสังคม และเล่นนอกบ้านกับผู้อื่น เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธีจึงเป็นต้นตอของสาเหตุนี้ที่พ่อแม่จะต้องรีบแก้ไขหากรู้ตัวว่ากำลังทำลายลูกน้อยของตัวเองแบบไม่รู้ตัว

อาการโรคออทิสติกเทียมที่ควรสังเกต

อาการของเด็กที่เริ่มมีภาวะออทิสติกเทียม คุณพ่อและแม่สามารถสังเกตได้ด้วยการเทียบพฤติกรรมพวกเขากับเด็กในวัยเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการร้องไห้แบบไร้เหตุผล ไม่ยอมส่งเสียงอ้อแอ้ใดๆ มักจะติดอยู่กับเครื่องมือสื่อสารที่พ่อแม่ให้ไว้เป็นของเล่น จนเกิดเป็นอาการเสพติดแบบขาดไม่ได้ สังเกตได้ว่าลูกน้อยจะเริ่มมีความเฉยชาต่อสิ่งรอบตัว ไม่สนใจว่าพ่อแม่จะกอด หอม หรืออุ้ม ไม่แสดงความรู้สึกรักคนรอบข้าง ไม่มองสบตาคนอื่น หากเกิดขึ้นในวัยที่กำลังพัฒนา เด็กมักจะไม่ยอมลอกเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ รวมไปถึงการพูด ทำให้เด็กมีพัฒนาการในการสื่อสารที่ช้ากว่าเด็กคนอื่นที่มีอายุเท่ากัน

ทางที่ดีที่สุด พ่อแม่ควรให้ความใส่ใจในการดูแลลูกน้อย การมีเวลาเลี้ยงลูกด้วยวิธีแบบธรรมชาติ เล่นกับพวกเขา พูดคุย สื่อสาร และใช้ของเล่นที่ไม่ใช่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หากต้องใช้ควรจำกัดเวลาการเล่นเพียงสั้นๆ เท่านั้น และอย่าลืมพาพวกเขาไปเข้าสังคมด้วย เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้อื่น ช่วยให้พัฒนาการเป็นไปตามช่วงวัยนั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook