ประวัติศาสตร์ของช่อดอกไม้: เหตุผลที่เจ้าสาวต้องถือช่อดอกไม้เข้าพิธีแต่งงาน

ประวัติศาสตร์ของช่อดอกไม้: เหตุผลที่เจ้าสาวต้องถือช่อดอกไม้เข้าพิธีแต่งงาน

ประวัติศาสตร์ของช่อดอกไม้: เหตุผลที่เจ้าสาวต้องถือช่อดอกไม้เข้าพิธีแต่งงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเป็นเจ้าสาวหมายความว่าคุณจะต้องคิดให้ดีว่าจะถือช่อดอกไม้แบบไหนเข้า พิธีแต่งงาน เพราะดอกไม้แต่ละชนิดมีความหมายที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าในวันสำคัญอย่างวันแต่งงาน คงไม่มีเจ้าสาวคนไหนอยากที่จะสื่อความหมายผิดๆ ผ่านช่อดอกไม้ที่ผิดประเภทแน่นอน แต่ Risawedding เดาได้เลยว่าเจ้าสาวหลายคนคงไม่ค่อยได้คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนนัก รวมถึงเหตุผลที่ว่าทำไมเจ้าสาวต้องถือดอกไม้เข้าพิธีแต่งงาน

 

ต้นกำเนิดของธรรมเนียมเกี่ยวกับดอกไม้ในงา่นแต่งงานสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยโรมันโบราณ ดอกไม้เป็นของตกแต่งที่เห็นได้ทั่วไปในงานแต่งงานแบบโรมัน เพราะมันเป็น สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่ ความภักดี และความอุดมสมบูรณ์

ถัดจากยุคโรมันโบราณ สมุนไพรเป็นอะไรที่หาได้ง่ายกว่าในยุคกลางมากกว่าดอกไม้ โดยเฉพาะกระเทียมและผักชี ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยป้องกันและขับไล่วิญญาณร้ายและความอับโชค มีการนำผักชีมาใช้ปรุงเป็นอาหารในพิธีจัดเลี้ยงเพื่อเตรียมคู่รักให้พร้อมสำหรับคืนสำคัญ (โด๊บด้วยอาหารที่เพิ่มพลังทางเพศนี่แหละค่ะคือเคล็ดลับแต่โบราณ)

พอถึงสมัยวิกตอเรีย การแลกดอกไม้เป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะที่เป็นการแสดงออกถึงความรัก เพื่อให้เข้ากับธีมความโรแมนติก ดอกไม้จึงถูกโยงเข้ากับการแต่งงานอย่างแยกไม่ได้ ปัจจุบัน ดอกไม้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งสำหรับการตกแต่งช่อดอกไม้และสำหรับการตกแต่งรอบพิธี เรียกได้ว่าเป็นของที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับทุกงานแต่งงาน

มีข่าวลือทั่วอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการถือดอกไม้เข้าพิธีแต่งงานว่า ในศตวรรษที่ 15 เจ้าสาวต้องถือช่อดอกไม่เข้าพิธีเพราะมันจะช่วยกลบกลิ่นตัวของพวกเธอ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าสมัยนั้นคนทั่วไปจะอาบน้ำแค่ปีละครั้ง ซึ่งภายหลังได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใด ซึ่งก็ดีแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นธรรมเนียมเรื่องดอกไม้คงขาดเสน่ห์และความโรแมนติกไปมากโขทีเดียว คิดเหมือนเราไหมคะ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook