โรคต่อมอะดีนอยด์โต และภาวะนอนกรนในเด็ก

โรคต่อมอะดีนอยด์โต และภาวะนอนกรนในเด็ก

โรคต่อมอะดีนอยด์โต และภาวะนอนกรนในเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

ต่อมอะดีนอยด์ คืออะไร

ต่อมอะดีนอยด์เป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูก ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคคออักเสบ โรคโพรงไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น


ต่อมอะดีนอยด์โตได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้ต่อมอะดีนอยด์โต ได้แก่

1. การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

2. โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ของเยื้อบุโพรงจมูก หรือ โรคแพ้อากาศ

3. การติดเชื้อเรื้อรังของต่อมอะดีนอยด์ โดยส่วนใหญ่จะพบต่อมทอนซิลโตร่วมกับต่อมอะดีนอยด์โต เนื่องจากต่อมทอลซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์

 


เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการอย่างไร

เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง นอนอ้าปาก เนื่องจากมีการหายใจทางปาก นอนกรน สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีภาวะหยุดหายใจ เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงตอนกลางคืนขณะที่เด็กมีการหลับสนิท

 


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคต่อมอะดีนอยด์โต

1.เด็กจะรู้สึกง่วง หรืออ่อนเพลียในช่วงเวลากลางวัน จากการนอนหลับไม่เต็มที่ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง

2. มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น

3. มีการหลั่งของฮอร์โมนที่จำเป็นในการเจริญเติบโตลดน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวจะหลั่งในขณะที่เด็กมีการนอนหลับสนิท

4. มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้า ทำให้รูปใบหน้ารีเป็นรูปไข่ จากการโก่งตัวสูงขึ้นของกระดูกเพดานปาก และมีการยื่นออกของฟันหน้าจนผิดรูป ซึ่งเกิดจากการที่เด็กหายใจทางปาก

 

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การขาดออกซิเจนในช่วงของการนอนตอนกลางคืนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตในปอดสูง เป็นต้น


การรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต

นอกจากการรักษาโรคที่พบร่วมด้วยแล้ว แนวทางการรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธี

1.การรับประทานนาปฏิชีวนะ ร่วมกับการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ผ่านจมูก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามเด็กอาจมีอาการกลับเป็นซ้ำได้หากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีการกำเริบของโรคแพ้อากาศ

2.การผ่าตัดรักษา ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ
- กรณีที่เด็กไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการรับประทานยา และยาสเตียรอยด์
- กรณีที่เด็กมีภาวะหยุดหายใจ
- กรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังร่วมกับมีน้ำคั่ง หรือโรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น


การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ จะเกิดผลเสียต่อเด็กหรือไม่

การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์จะไม่เกิดผลเสียในด้านลดความสามารถของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากร่างกายมีระบบต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถทำงานทดแทนต่อมอะดีนอยด์ที่ถูกตัดออกไป รวมถึงบทบามของต่อมอะดีนอยด์ก็จะลดน้อยลงและต่อมจะมีขนาดเล็กลงในเด็กที่อายุมากกว่า 5-7 ปี

 

ผู้หญิงมีเรื่องอีกเยอะ.. ดูต่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook