อันตรายจากกลูต้าไธโอน "ตัวช่วยทำให้ผิวขาว"
เมื่อพูดถึงกลูต้าไธโอนในวงการผู้หญิงอยากขาวคงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แต่คุณรู้บ้างไหมว่าอันตรายจากกลูต้าไธโอนนั้นมีอะไรบ้างมีผลข้างเขียงอย่างไรบ้าง หากว่าคุณคิดอยากจะมีผิวขาวสวยอมชมพูก็ต้องคิดกันสักนิดเพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่อยู่ยั่งยืนคู่กับคุณไปจนแก่ ดังนั้นมาดูอันตรายจากกลูต้าไธโอนและประโยชน์ของกลูต้าไธโอนกันค่ะ
อันตรายจากกลูต้าไธโอน
สารกลูต้าไธโอนเป็นโปรตีนที่ร่างกายเราสังเคราะห์ได้เองทำหน้าที่ปกป้อง เนื้อเยื่อของอวัยวะทุกส่วน โดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายช่วยตับขจัดสารพิษ โดยเฉพาะตัวยาหรือสารพิษที่ไม่ละลายน้ำ เช่น โลหะหนัก สารฆ่าแมลง เมื่อรวมตัวกับสารกลูต้าไธโอนจะช่วยให้ละลายน้ำได้และถูกกำจัดออกจากร่างกาย ช่วยปกป้องดีเอ็นเอของเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็ง นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่อายุยืนยาวและมีสุขภาพแข็งแรงมักจะตรวจพบสารกลูต้าไธโอนปริมาณสูงในกระแสเลือด ต่อมาวงการแพทย์ได้นำสารกลูต้าไธโอนมาใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบเส้น ประสาทบกพร่อง เช่น โรคตับ โรคไต พาร์กินสัน อัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ มะเร็งกระเพาะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก มานานกว่า 30 ปี โดยฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ
เนื่องจากร่างกายเราสร้างกลูต้าไธโอนได้เองเมื่อต้องเสริมกลูต้าไธโอนใน ปริมาณมากเพื่อมุ่งรักษาโรค จึงมีผลข้างเคียงโดยกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ไปยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งทำให้ เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาวทำให้ผิวขาวขึ้นใน เวลาอันสั้น จึงเกิดการแตกตื่นและนำกลูต้าไธโอนมาเป็นอาหารเสริมเพื่อชะลอวัย และหวังผลให้ผิวขาวใสหรือผิวขาวอมชมพู
กิน-ฉีดให้ขาว อันตรายถึงชีวิต
ในความเป็นจริงยาเม็ดที่เป็นอาหารเสริมไม่มีผลให้ผิวขาว เพราะสารชนิดนี้ไม่สามารถดูดซึมและจะถูกขจัดออกจากร่างกายในที่สุด จึงได้มีการดัดแปลงนำมาผสมกับวิตามินซีแล้วฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ ครั้งละ 600 มิลลิลิตร สัปดาห์ละครั้ง ราคา 4,000-5,000 บาท ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ ผิวจะเริ่มขาวขึ้นหลังฉีดครั้งแรกประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้น 2 เดือนผิวจะกลับมาเป็นสีเดิมจึงต้องฉีดซ้ำอยู่เป็นระยะ
ต่อมาองค์การอาหารและยาได้ประกาศห้ามใช้กลูต้าไธโอนเพื่อช่วยผิวขาวแล้ว เนื่องจากกลูต้าไธโอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดฉีดเพื่อมุ่งผิวขาวมีกลูต้าไธโอน สูงถึง 500-1,000 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยใช้ คือ ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวันและอาจทำให้แพ้ยาจนช็อกถึงขึ้นเสียชีวิตเฉียบพลันหรือส่งผล ในระยะยาว เช่น สะสมในร่างกายส่งผลเสียต่อตับและไตได้ และทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังเนื่องจากผิวไวต่อแสงแดดเพราะเม็ดสีผิวถูก ทำลายเสริมกลูต้าไธโอนด้วยการกิน
แม้การบริโภคกลูต้าไธโอนในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ปริมาณกลูต้าไธโอนที่ร่างกาย ผลิตได้ลดลงทำให้ร่างกายขาดสารต้านอนุมูลอิสระ ผิวแห้งเหี่ยวเร็ว ไม่เปล่งปลั่ง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ (ในกรณีที่ป่วย) หรือเลือกกินอาหารที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างกลูต้าไธโอนได้ดีขึ้น ได้แก่ ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว นม ไข่ หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม มะเขือเทศ และผลไม้ เช่น แตงโม สตรอเบอร์รี่ องุ่น อะโวคาโด
ขอบคุณข้อมูลจาก Health&Cuisine
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.dahong.co.kr
เรื่องชิคๆ อินเทรนด์กว่านี้ คลิก..