ปวดข้อ ข้อเสื่อม จะทำอย่างไร เมื่อรัฐตัดสิทธิ์
บทความโดย : ว่าที่ ส.ว.
หากใครมีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นผู้สูงวัยที่มีโรคปวดข้อรุมเร้า และกำลังรับราชการ ตอนนี้คงกระวนกระวายใจกับเรื่องยารักษาโรคข้อเสื่อมเป็นแน่ เพราะตอนนี้ได้ถูกฟันฉับออกจากบัญชีรายชื่อยาที่ข้าราชการเบิกจ่ายได้
เหตุของการงดจ่ายยาโรคปวดข้อ
สืบเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ จัดทำมาตรการกำกับดูแลการใช้ยาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยเฉพาะการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่พบว่าสถานพยาบาลหลายแห่งมีสัดส่วนใช้ยานอกบัญชีฯ ร้อยละ 60-70% โดยเฉพาะ ยาโรคปวดข้อและกระดูกซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง (ThaiPR.net วันพฤหัสที่ 30 ธันวาคม 2552)
คณะทำงานฯ ได้สรุปว่ายาในกลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยดินซัลเฟส และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาที่ฉีดเข้าข้อ (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ไม่มีประสิทธิภาพชัดเจนในการรักษา การใช้ยากลุ่มนี้อาจไม่เกิดประโยชน์และไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ซึ่งส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ดังนั้นจึงมีหนังสือสั่งให้กลุ่มยาโรคปวดข้อและกระดูกเหล่านี้เป็นรายการที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาบรรเทาอาการปวดข้อ กลุ่ม SYSADOAแต่ค้านกับข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับยาโรคปวดข้ออีกด้าน ของ Prof. Reginster ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ปี 2001 แสดงให้เห็นว่าการรับประทานกลูโคซามีน ซัลเฟต 1500 มก. นานต่อเนื่อง 3 ปี มีผลทำให้ข้อเสื่อมช้าลง จากการดูผล X-ray ที่ช่องว่างของข้อ และผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ใช้กลูโคซามีน ซัลเฟต ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาหลอก Prof. Reginster ยังให้ความคิดเห็นอีกว่า ผลการศึกษานี้เป็นการใช้กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่เป็นยา ไม่สามารถนำผลการรักษานี้ไปอ้างอิงกลูโคซามีนตัวอื่นได้
และอีกข้อมูลของยาโรคปวดข้อจากการรีวิวการศึกษาของกลูโคซามีน ที่รายงานใน Cochrane library ในปี 2005 ผู้วิจัยได้ทำการรีวิวข้อมูลการศึกษาทั้งหมดของกลูโคซามีนตั้งแต่ในอดีต จนถึงปี 2005 ผู้ทำการวิจัยสรุปว่า กลูโคซามีนให้ผลดีในการรักษาอาการข้อเสื่อม และกลูโคซามีนของผู้ผลิตยาโรคปวดข้อแต่ละรายให้ผลการรักษาดีไม่เหมือนกัน บางรายไม่ให้ผลทางการรักษาเลย
แต่ข้อมูลที่ชี้ชัดสุด คือ ผลการวิจัยจาก The Joint Area Prescribing Committee (JAPC) ในปี 2010 ซึ่งระบุว่า สารกลูโคซามีน ซัลเฟต ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการรักษาเข่า เป็นสารชนิดเดียวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท Rotta ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นยาเพียงตัวเดียวที่มีผลการศึกษายืนยันประสิทธิภาพการรักษาทั้งด้านการบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของข้อเข่า จึงมีความปลอดภัยในระยะยาว แม้จะมีราคาแพงกว่าก็ตาม ผู้วิจัยยังระบุว่าไม่ควรใช้กลูโคซามีนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์และไม่มีใบอนุญาต เนื่องจากไม่มีผลการวิจัยรับรองและไม่สามารถยืนยันผลการรักษาหรือผลข้างเคียงได้
ในเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนในผลการรักษาที่เชื่อถือได้ของกลูโคซามีน ยาบรรเทาอาการปวดข้อ นี้ ทำให้สงสัยไม่น้อยว่า ที่รัฐตัดกลูโคซามีน ที่เป็นยาบรรเทาอาการปวดข้อ ออกจากบัญชีรายชื่อยา เพราะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้างหรือมีเหตุผลอื่นกันแน่ โดยเฉพาะกระแสก่อนหน้านี้ ที่ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยตัวเลขการเบิกจ่ายยาของข้าราชการไทยพุ่งไปที่ 7 หมื่นล้าน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละเกือบ15-20% สาเหตุที่ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงขึ้น เพราะจ่ายตามที่เบิกจริงและไม่มีมาตรการควบคุม ยาหลายชนิดเป็นยานอกบัญชีกลางซึ่งมีราคาแพง หากไม่มีการควบคุมคาดว่าปีงบประมาณ 2553 การเบิกจ่ายน่าจะพุ่งไปหลักแสนล้าน !
ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามคาใจว่า หรือแท้ที่จริงแล้วเหตุผลที่รัฐตัดรายชื่อกลูโคซามีน ที่เป็นยาบรรเทาอาการปวดข้อ ออกไปเพียงเพราะต้องการควบคุมงบประมาณเพียงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาใช่หรือไม่ ถ้าเป็นอย่างที่วิเคราะห์ เชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะมีรายชื่อยาที่ถูกตัดสิทธิ์เบิกจ่าย ทยอยประกาศตามมาอีก
หลังจากมีเสียงสะท้อนจากกลุ่มแพทย์ที่ไม่เห็นด้วย และข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศเกี่ยวกับยาบรรเทาอาการปวดข้อ จนเกิดอาการเข่าเจ็บ เข่าดัง ล่าสุด นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ. ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการแพทย์ ศึกษาข้อมูลทางวิชาการในยากลุ่มรักษาข้อเสื่อม เพื่อดูว่ายาตัวไหนต้องทบทวน หรือต้องแก้ไขสรรพคุณ และส่งเรื่องให้ อย. พิจารณา คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์…ถึงจะฟังเหมือนเป็นข่าวดี แต่ก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะสุดท้ายแล้วคุณก็ต้องหายารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่คุณมั่นใจว่าดีจริงๆ