หนุ่มหล่อมาดแมน...ต้องทาครีมกันแดดไหม?
ไม่ทาครีมกันแดดได้ไหม?
ไม่ได้ครับ เพราะอยู่ในความดีของแสงแดดนั้นก็มีความร้ายกาจของรังสีซ่อนอยู่มากมายเช่นกัน อันตรายจากแสงแดดนั้นมีมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะเมืองไทยยุคนี้ที่แดดแรงจัดได้ทุกฤดู นอกจากผลเสียที่สัมผัสได้โดยตรงจากอาการแสบผิวเวลาปะทะกับแสงแดดจัดแล้ว ผลเสียอื่นๆ ที่ตามมาก็คือ ผิวหนังไหม้แดง เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวคล้ำขึ้น แล้วไหนจะมีมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากการไม่ป้งอกันผิวเวลาเจอกับแสงแดดแรงๆ เป็นประจำอีก ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดจึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ผู้ชายไทยทุกคนควรจะใช้ เพื่อปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี
มันคืออะไร?
SPF : ย่อมาจาก Sun Protection Factor ซึ่งก็คือค่าของตัวเลขที่ใช้แสดงประสิทธิภาพของการป้องกันแสงแดดนั่นเอง ซึ่งค่า SPF ที่ดีนั้นควรระบุคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีให้ครบทั้ง UVA และ UVB ( โดยเฉพาะ UVB ที่เป็นสาเหตุของการทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม ) ค่าตัวเลข SPF นั้นยิ่งมากก็ยิ่งจะป้องกันแสงแดดได้ดีและยาวนานกว่า แต่ก็ใช่ว่าค่า SPF สูงๆ นั้นจะเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป
UVA : รังสีที่ส่งผลต่อผิวหนังชั้นเดอร์มิส ทำให้เกิดอนุมูลอิสระและทำลายเส้นใยคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหย่อนคล้อยและเป็นริ้วรอย
UVB : รังสีที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์เมลาโนไซต์ ( melanocyte ) ในผิวหนังชั้นบนสุด ( epidermis ) ทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน ( melanin ) ซึ่งทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำ ฝ้า และกระ อีกทั้งทำให้ผิวร้อน แดง และไหม้เกรียม แบบที่เรียกว่า sunbum แถมหนักๆ เข้ายังก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ด้วย
DIY : Do It Yourself สูตรการคำนวณค่า SPF กับประสิทธิภาพในการป้องกันแดดแบบง่ายๆ
สูตร
ค่า SPF * 15 = ระยะเวลาเป็นนาทีที่จะป้องกันแดดได้ดีที่สุด
SPF 08 : 8 * 15 = 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง
SPF 15 : 15 * 15 = 225 นาที หรือ 3 ชั่วโมง 45 นาที
SPF 30 : 30 * 15 = 450 นาที หรือ 7 ชั่วโมง 30นาที
SPF 50 : 50 * 15 = 750 นาที หรือ 12 ชั่วโมง 30 นาที
รู้ไหม Numbers to Remember : ตัวเลขที่มากับแดด ?
15 คืือ ตัวเลขของค่า SPF ที่เหมาะสมกับคนไทยมากที่สุด เพราะจากผลการวิจัยหลายๆ แห่งระบุว่า ค่า SPF 15 นี้เพียงพอต่อการป้องกันแสงแดดในเมืองไทยแล้ว โดยเฉพาะ ออฟฟิศแมนทั้งหลายที่ออกมาโดนแดดกันเพียงไมเท่าไร แล้วก็กลับเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ ในร่มกันเสียส่วนใหญ่ 15 นาที คือช่วงเวลาที่เราควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดทิ้งไว้ก่อนที่จะออกไปเจอแดดจริงข้างนอก
9 - 15 หรือ 9.00 น. - 15.00 น. คือ ช่วงเวลาที่แสงแดดแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด หากหลีกเลี่ยงการเผชิญแดดในช่วงเวลานี้ได้จะเยี่ยมมาก แต่ถ้าจำเป็นต้องออกแดดก็ควร พยายามเดินแอบๆ ในที่ร่ม หรือพกอุปกรณ์กันแดด ( เช่น หมวก ร่ม หรือคนถือร่ม ) ไปด้วย
40 คือ จำนวนนาทีที่เราสามารถอยู่ในน้ำได้ โดยไม่ได้รับอันตรายจากแสงแดด หลังจาก ทาผลิตภัณฑ์กันแดดแบบทนน้ำ ที่ระบุข้างขวดว่า Water Resistant ( ซึ่งเหมาะกับคน
เหงื่อเยอะอย่างยิ่ง )
80 คือ จำนวนนาทีที่เราสามารถอยู่ในน้ำได้ โดยไม่ได้รับอันตรายจากแสงแดด หลังจาก ทาผลิตภัณฑ์กันแดดแบบน้ำ ที่ระบข้างขวดว่า Water Proof ( แบบนี้จะทาประจำก็ เกินไป ใช้เวลาลงน้ำอย่างเดียวพอ )
X DDT : Don't Do That! ใช้ SPF สูง > ผิวดื้อสารกันแดด
ความเชื้อที่ถูกแต่นำมาปฏิบัติกันผิดๆ นี้ รู้หรือเปล่าว่ามันเกิดผลร้ายมากกว่าผลดีเสียอีก...คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ นั้นจะช่วยกันแดดได้ดีกว่า โดยหารู้ไม่ว่าการใช้ค่า SPF สูงๆ ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดอาการผิวดื้อสารกันแดด ทำให้เวลาไปเจอแดดจัดๆ จริงๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถป้องกันแดดได้ตามประสิทธิภาพที่ระบุไว้ ทำให้ผิวคล้ำได้ง่ายแม้จะทาผลิตภัณฑ์ป้องกันมาแล้วเป้นอย่างดี
ข้อสังเกต : ที่ผ่านมาเราใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงๆ เป็นประจำหรือเปล่า ผิวหน้าเราคล้ำจนผิดปกติหรือเปล่าเวลาออกแดดจัด ใบหน้าดูหมองๆ ชอบกลหรือเปล่าเวลาส่องกระจก
แก้ไข : หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสาร SPF ไปสักพัก ( หยุดใช้ไปเลย ไม่ใช่ใช้ที่มีค่า SPF ลดลง ) ราวๆ 1 เดือน เพื่อให้ผิวหน้าได้พักผ่อนและปรับสภาพใหม่ ขณะที่หยุดใช้ก็พยายามเลี่ยงการเผชิญแสงแดดให้มากที่สุด หรือหาอุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติม เช่น ใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวก หรือกางร่มเวลาออกแดด เมื่อครบหนึ่งเดือนค่อยกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้แค่ SPF 15 ก็พอ
ข้อแนะนำ : สำหรับค่า SPF สูงๆ นั้น ถ้าใช้เป็นบางโอกาสจะได้ผลเต็มประสิทธิภาพกว่า เช่น วันที่ต้องออกแดดแรงๆ นาน ต้องทำงาน หรือมีปาร์ตี้กลางแจ้ง ก็ให้ใช้ SPF 30 เพิ่มขึ้นมาเป็นกรณีเฉาะกิจ แต่ถ้าจะให้ไปทะเลหรือเล่นกีฬากลางแจ้ง ก็ให้ใช้ SPF 50 เป็นต้น
ผู้หญิงมีเรื่องอีกเยอะ.. ดูต่อ