7 ความเชื่อที่ถูกต้องของการฝึกโยคะ

7 ความเชื่อที่ถูกต้องของการฝึกโยคะ

7 ความเชื่อที่ถูกต้องของการฝึกโยคะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีวิธีมากมายหลายอย่างที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพดี ทั้งการใส่ใจเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ แต่มีวิธีปฏิบัติตนที่จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงและดีไปพร้อมๆ กันได้นั่นก็คือ การฝึกโยคะ ซึ่งการเล่นโยคะ ยังมีความเชื่อที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องอีกหลายข้อ เรามาดูความเชื่อที่ถูกต้องกันค่ะ

1.ไม่จำเป็นต้องรอให้ร่างกายแข็งแรงหรือยืดหยุ่นก่อนถึงจะฝึกโยคะได้

แทบทุกคนสามารถลงมือฝึกปฏิบัติได้ แต่ต้องรู้หรือศึกษาวิธีที่ถูกต้อง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่ยืดหยุ่นหรืออ่อนจนดัด ยืด ได้โดยง่าย เพราะเมื่อฝึกไปสักระยะโยคะจะช่วยปรับร่างกายที่ตึงเกินไปให้อ่อนลง เกิดความยืดหยุ่นและแข็งแรงขึ้นได้ในเวลาต่อมาเอง

2.โยคะเป็นการหายใจแบบผ่อนคลายช้าๆ

หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าต้องหายใจแบบลึกๆ ยาวๆ การหายใจแบบลึกๆ จนเกินไป อาจทำให้เกิดความเครียดได้โยคะที่ถูกต้องคือ การหายใจช้าๆ จะช่วยให้การทำงานของหัวใจเบาลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

3.ได้ประโยชน์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

เป็นความคิดของชาวตะวันตกที่ว่า ฝึกโยคะแล้วจะได้แค่ความแข็งแรงทางด้านร่างกายเท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้วจะช่วยให้สุขภาพจิตดี ใจมีความสงบและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น ลดความวิตกกังวล และอาการที่ตื่นกลัวได้อีกด้วย

4.โยคะไม่ใช่แค่การออกกำลังกายบนผืนเสื่อ

หรือเป็นแค่การฝึกที่อยู่แค่บนเสื่อเท่านั้น แต่โยคะยังเป็นการฝึกสมาธิอีกอย่างหนึ่ง โดยสามารถฝึกได้ทุกขณะ แม้ในยามที่เราใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กวาดบ้าน อาบน้ำ ซักผ้า เพียงแค่เรามีสมาธิจับอยู่กับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่แค่นั้น

5.สามารถเลือกฝึกได้ตามที่ร่างกายและใจต้องการ

เช่น หากเราต้องการความแข็งแรง เราก็หาท่าการฝึกที่ถูกใจ เรียกเหงื่อหรือต้องการรักษาอาการบาดเจ็บหรือต้องการให้หลับสนิท ก็หาท่าฝึกได้ตามใจชอบได้เลย

6.ไม่จำเป็นต้องฝึกในที่มิดชิดหรือสตูดิโอก็ได้

หากเราไม่อยากฝึกกับครูฝึกหรือฝึกร่วมกับคนอื่น โยคะตอบโจทย์ข้อนี้ได้ โดยเราสามารถฝึกอยู่ที่บ้านคนเดียว หรือหาคลาสฝึกออนไลน์ได้ตามต้องการเลย

7.โยคะวัดได้ด้วยความรู้สึก หาใช่วัดได้ด้วยการทำท่ายากๆ

ได้อย่าเข้าใจผิด ว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการฝึกโยคะคือ คนที่ดัดตัวโค้ง ตัวอ่อนเก่ง แต่แก่นที่วัดกันจริงๆ คือ ให้วัดจากความรู้สึกของเราว่า ร่างกายเราสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้นานขึ้นหรือไม่ หรือทางใจ ใจเรากังวล สงบมากขึ้น มีสมาธิดีมากขึ้นหรือไม่ต่างหาก

นับว่าเป็นการฝึกที่แตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไป แต่คุณประโยชน์ที่ได้กลับได้รับมากมาย ผู้ฝึกมักพบกับความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นการเสริมพลังให้ชีวิตเราแข็งแกร่งมีพลังมากยิ่งๆ ขึ้น และนี่ก็คือความเชื่อที่ถูกต้องจากการออกกำลังกายด้วยการฝึกโยคะนั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook